สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
มารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์ ปี 1783 | |||||
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช | |||||
ครองราชย์ | 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1816 | ||||
พิธีอวยองค์ | 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1777 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าฌูเซที่ 1 | ||||
ถัดไป | พระเจ้าฌูเอาที่ 6 | ||||
ผู้ร่วมในราชสมบัติ | พระเจ้าเปดรูที่ 3 (สิทธิของพระมเหสี) | ||||
ผู้สำเร็จราชการ | เจ้าชายฌูเอา (1792–1816) | ||||
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งบราซิล | |||||
ครองราชย์ | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1815 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1816 | ||||
ถัดไป | พระเจ้าฌูเอาที่ 6 | ||||
พระราชสมภพ | 17 ธันวาคม ค.ศ. 1734 ลิสบอน, ราชอาณาจักรโปรตุเกส | ||||
สวรรคต | 20 มีนาคม ค.ศ. 1816 รีโอเดจาเนโร, ราชอาณาจักรบราซิล | (81 ปี)||||
คู่อภิเษก | พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส | ||||
พระราชบุตร | เจ้าชายฌูเซ เจ้าชายแห่งบราซิล พระเจ้าฌูเอาที่ 6 อิงฟังตามารีอานา วีตอรีอา | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | บรากังซา | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส | ||||
พระราชมารดา | อินฟันตามาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||
ลายพระอภิไธย |
สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส (17 ธันวาคม ค.ศ. 1734 - 20 มีนาคม ค.ศ. 1816) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช ตั้งแต่ค.ศ. 1777 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม มารีอา ผู้ใจบุญ โดยชาวโปรตุเกส และเป็นที่รู้จักในพระนาม มารีอา ผู้วิปลาส โดยชาวบราซิล เป็นพระประมุขพระองค์แรกของโปรตุเกสที่เป็นสตรีเพศ เป็นพระราชธิดาพระองค์โตจากพระธิดาทั้งสี่พระองค์ในพระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกสกับสมเด็จพระราชินีมารีอานา วีตอรีอาแห่งโปรตุเกส
ช่วงต้นของพระชนม์ชีพ
[แก้]เจ้าหญิงมารีอาพระราชสมภพที่พระราชวังริเบย์รา ซึ่งต่อมาพระราชวังนี้ได้ถูกทำลายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ พระนามเต็มของพระนางคือ มารีอา ฟรานซิสกา อิซาเบล โจเซฟา แอนโทเนีย เจอร์ทรูด ริตา ฮวนนา ในวันพระราชสมภพ พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกสซึ่งเป็นพระอัยกาของพระนาง ได้พระราชทานพระอิสริยยศเจ้าหญิงเป็น เจ้าหญิงแห่งเบย์รา พระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์โตจากทั้งหมด 4 พระองค์
เมื่อพระราชบิดาได้สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าฌูเซแห่งโปรตุเกส หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าฌูเอาที่ 5 ในปีค.ศ. 1750 เจ้าหญิงมารีอาได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิงแห่งบราซิลซึ่งเป็นพระอิสริยยศตามแบบดั้งเดิม ซึ่งไม่ใช่พระอิสริยยศดัชเชสแห่งบรากังซา
เจ้าหญิงมารีอาทรงเจริญพระชันษาในช่วงที่การปกครองของพระราชบิดาและรัฐบาลอยู่ภายใต้อำนาจของมาควิสแห่งพอมบาล พระราชบิดาของพระนางมักจะปลีกตัวพระองค์จากการเมืองมาพำนักที่พระราชวังหลวงเควลูซ ซึ่งต่อมาได้มอบให้กับเจ้าหญิงมารีอาและพระสวามี มาควิสแห่งพอมบาลได้เข้ากุมอำนาจในรัฐบาลหลังจากเหตุการณ์ครั้งร้ายแรงคือ แผ่นดินไหวในลิสบอน ค.ศ. 1755 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 วึ่งส่งผลให้ประชาชนกว่าหนึ่งแสนคนต้องเสียชีวิต และพระราชวังริเบย์ราถูกทำลายจนสิ้น
หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้นส่งผลให้พระราชบิดาของพระนางเกิดพระอาการประหลาดคือ พระองค์มักจะรู้สึกอึดอัดในที่ที่ไม่มีช่องว่าง อันเป็นผลมาจากโรคกลัวที่ปิดทึบ (Claustrophobia) พระเจ้าฌูเซทรงสร้างที่ประทับในเมืองอาจูดา โดยให้ห่างไกลจากตัวเมือง ซึ่งพระราชวังเป็นที่รู้จักในชื่อ พระราชวังเรียล บาร์ราคา เดอ อาจูดา (กระท่อมหลวงแห่งอาจูดา) เนื่องจากว่าทั้งตัวพระราชวังทำจากไม้ทั้งสิ้น พระราชวงศ์ทรงประทับร่วมกันที่พระราชวังนี้และเป็นที่ที่เจ้าหญิงมารีอาทรงพระประสูติกาลพระโอรสพระองค์แรกด้วย ต่อมาในปีค.ศ. 1794 พระราชวังนี้ได้ถูกเพลิงเผาจนวอดวายและได้มีการสร้างพระราชวังหลวงอาจูดาขึ้นแทนที่
อภิเษกสมรสและพระราชบุตร
[แก้]เจ้าหญิงมารีอาทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเปดรู ซึ่งเป็นพระปิตุลาของพระนาง และเป็นผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระนางมารีอาเมื่อพระนางขึ้นครองราชย์ พระราชพิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1760 ซึ่งเจ้าสาวมีพระชนมายุเพียง 25 พรรษา ส่วนเจ้าบ่าวมีพระชนมายุ 43 พรรษา ถึงแม้จะเป็นการอภิเษกสมรสที่ต่างพระชันษากันมาก แต่ก็จัดเป็นคู่อภิเษกสมรสที่มีความสุขคู่หนึ่งซึ่งปรากฏพบได้ยากในการแต่งงานของราชวงศ์ ทั้งสองพระองค์ทรงให้กำเนิดโอรสและธิดารวม 6 พระองค์ ได้แก่
พระฉายาลักษณ์ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา |
เจ้าชายฌูเซ เจ้าชายแห่งบราซิล | ค.ศ. 1761 |
20 สิงหาคมค.ศ. 1788 |
11 กันยายนอภิเษกสมรส 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777 อิงฟังตาบึนึดีตาแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระมาตุจฉา ไม่มีพระบุตร | |
อิงฟังตึฌูเอา ฟรังซิชกูแห่งบรากังซา | ค.ศ. 1763 |
16 กันยายนค.ศ. 1763 |
10 ตุลาคมสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ | |
พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส | ค.ศ. 1767 |
13 พฤษภาคมค.ศ. 1826 |
10 มีนาคมอภิเษกสมรส 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1785 อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน มีพระราชบุตร 9 พระองค์ ได้แก่ อิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา เจ้าชายฟรังซิชกู อังตอนียู เจ้าชายแห่งไบรา มารีอา อีซาแบลแห่งบรากังซา สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล อิงฟังตามารีอา ฟรังซิชกาแห่งบรากังซา อิงฟังตาอีซาแบล มารีอาแห่งบรากังซา พระเจ้ามีแกลแห่งโปรตุเกส อิงฟังตามารีอา ดา อาซุงเซาแห่งบรากังซา อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาแห่งบรากังซา | |
อิงฟังตามารีอานา วีตอรีอาแห่งบรากังซา | ค.ศ. 1768 |
15 ธันวาคมค.ศ. 1788 |
2 พฤศจิกายนอภิเษกสมรส 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1785 อินฟันเตกาบริเอลแห่งสเปน มีพระบุตร 3 พระองค์ ได้แก่ อินฟันเตเปโดร การ์โลสแห่งสเปนและโปรตุเกส อินฟันตามาริอา การ์โลตาแห่งสเปน อินฟันเตการ์โลสแห่งสเปน | |
อิงฟังตามารีอา กลึเมนตีนาแห่งบรากังซา | ค.ศ. 1774 |
9 มิถุนายนค.ศ. 1776 |
27 มิถุนายนสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ | |
อิงฟังตามารีอา อีซาแบลแห่งบรากังซา | ค.ศ. 1776 |
12 ธันวาคมค.ศ. 1777 |
14 มกราคมสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ |
ครองบัลลังก์โปรตุเกสและพระอาการวิปลาส
[แก้]ในปีค.ศ. 1777 เจ้าหญิงมารีอาได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช และเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 26 พระสวามีของพระนางได้เป็นพระประมุขร่วม พระนามว่า พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส แม้ว่าพระสวามีจะดำรงเป็นผู้ปกครองร่วมแต่แท้จริงแล้วอำนาจทั้หมดกลับตกอยู่ในพระหัตถ์ของพระนางมารีอา พระนางทรงเป็นนักปกครองที่ดีและชาญฉลาดถ้าไม่เกิดพระอาการวิปลาสของพระนาง
บทบาทแรกในการเป็นสมเด็จพระราชินีนาถของพระนางคือ การปลดมาควิสแห่งพอมบาล ผู้เป็นที่นิยมออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและทรงประกาศไม่ให้เขาเข้าใกล้พระองค์เป็นระยะ 20 ไมล์ มาควิสแห่งพอมบาลเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ทาวอรา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าฌูเซในรัชกาลก่อน และผลลัพธ์คือคนในตระกูลทาวอราถูกสั่งประหารชีวิต ซึ่งคนในตระกูลนี้เป็นปรปักษ์กับมาควิสแห่งพอมบาล จนทำให้มาควิสแห่งพอมบาลมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ จนเรียกได้ว่า ยุคภูมิธรรมของพอมบาล และเป็นผู้ต่อต้านคณะเยซูอิต ซึ่งพระนางมารีอาไม่ทรงโปรดพอมบาลพระนางจึงสั่งปลดเขา ในช่วงนี้ประเทศโปรตุเกสได้เข้าเป็นสมาชิกในสันนิบาตแห่งความเป็นกลางทางกองทัพ (เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1782)
พระนางมารีอาทรงทรมานจากการที่ทรงเคร่งครัดในพระศาสนามากเกินไปและทรงเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นพระอาการแบบเฉียบพลันทำให้พระนางไม่สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองได้ พระนางเป็นพระโรคเดียวกับพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรซึ่งทรงพระประชวรด้วยโรคพอร์ฟีเรีย
พระอาการวิปลาสของพระนางเริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้นในปีค.ศ. 1786 เมื่อพระนางมารีอาทรงถูกกุมพระองค์กลับมายังพระตำหนักด้วยพระอาการคลุ้มคลั่ง สภาพจิตใจของพระนางเลวร้ายยิ่งขึ้น และในปีเดียวกันพระสวามีของพระนางเสด็จสวรรคตในเดือนพฤษภาคม สภาพจิตใจของพระนางเหมือนแหลกสลายทรงออกประกาศห้ามให้มีความบันเทิง และการฉลองรัฐพิธีต่างๆให้เป็นไปตามพิธีกรรมทางศาสนาทั้งสิ้น สภาพจิตใจของพระนางสูญเสียมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสพระองค์โตสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุ 27 พรรษาด้วยไข้ทรพิษ และหลังจากการสารภาพบาปของพระนางในปีค.ศ. 1791 ก็มีผลให้พระอาการเลวร้ายยิ่งขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1792 พระนางทรงได้รับการรักษาจากฟรานซิส วิลลิส แพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการรักษาพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร วิลลิสประสงค์ให้พระนางเสด็จไปรับการรักษาที่ประเทศอังกฤษแต่ทางราชสำนักได้ปฏิเสธแผนการนี้ เจ้าชายฌูเอา พระราชโอรสพระองค์สุดท้องได้ใช้พระราชอำนาจปกครองประเทศภายใต้พระนามของพระราชมารดา และทรงได้ดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ในปีค.ศ. 1792 เมื่อพระราชวังเรียล บาร์ราคา เดอ อาจูดาได้ถูกเพลิงเผาผลาญจนสิ้นในปีค.ศ. 1794 พระราชวงศ์ได้ย้ายไปประทับที่พระราชวังเควลูซ ซึ่งเป็นที่ซึ่งพระนางมารีอาทรงถูกบังคับให้อยู่บนพระแท่นบรรทมโดยทรงถูกผูกติดกับพระแท่นตลอดทั้งวันโดยไม่ให้เสด็จออกจากห้อง แขกผู้มาเยือนราชสำนักโปรตุเกสต่างได้ยินเสียงกรีดร้องอย่างทรมานของพระนางมารีอาซึ่งจะมีเสียงสะท้อนกลับทั่วทั้งพระราชวัง
สงครามนโปเลียนและเสด็จสวรรคต
[แก้]ในปีค.ศ. 1801 มานูเอล โกดอย นายกรัฐมนตรีเผด็จการแห่งสเปนได้ส่งกองทัพบุกโปรตุเกสด้วยการสนับสนุนจากนโปเลียน แต่ในปีเดียวกันก็ถูกสั่งระงับแผนการไว้ อย่างไรก็ตามในสนธิสํญญาบาดาจอซในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1801 โปรตุเกสได้ถูกบังคับให้มอบโอลิเวนซาและส่วนหนึ่งของกายอานาแก่สเปน
รัฐบาลโปรตุเกสปฏิเสธที่จะร่วมในแผนการบุกเกาะอังกฤษของฝรั่งเศสและสเปนในปีค.ศ. 1807 กองทัพฝรั่งเศส-สเปนนำโดยนายพลฌอง-อันดอเช ชูโนต์ได้บุกโปรตุเกส กองทัพโปรตุเกสพ่ายแพ้ นายพลชูโนต์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการแผ่นดินโปรตุเกสโดยการตัดสินพระทัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ประสงค์ให้ทำลายราชอาณาจักรโปรตุเกส จากการร้องขอของรัฐบาลอังกฤษ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1807 พระราชวงศ์บรากันซาตัดสินพระทัยลี้ภัยไปยังบราซิลและก่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในราชอาณาจักรบราซิลขึ้น พระนางและพระราชวงศ์ประทับเรือพระที่นั่งปรินซิเป เรียล ระหว่างการเสด็จจากพระราชวังมายังท่าเรือ พระนางทรงกรีดร้องและกรรแสงตลอดทางและเป็นเช่นนี้ตลอดจนถึงบราซิล สมเด็จพระราชินีทรงเริ่มมีภาวะสมองเสื่อม พระนางทรงหวาดผวาโดยทรงคำนึงว่าพระองค์จะทรงถูกนำไปทรมานหรือทรงถูกนำไปปล้นในระหวางการเดินทางโดยเหล่านางสนองพระโอษฐ์ของพระนางเอง
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1808 เจ้าชายฌูเอาและพระราชวงศ์เสด็จถึงซาลวาดอร์ ซึ่งเป็นที่ที่พระองค์ทรงเปิดการค้าระหว่างบราซิลกับมิตรประเทศซึ่งรวมทั้งประเทศอังกฤษ กฎหมายนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะยกเลิกสัญญาอาณานิคมซึ่งใช้บราซิลเป็นแผ่นดินหลักแทนโปรตุเกส
ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1815 พลโท ดยุกแห่งเวลลิงตัน แห่งกองทัพอังกฤษได้บุกเข้าสู่กรุงลิสบอนอันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามคาบสมุทร (Peninsular War) วันที่ 28 สิงหาคม ดยุกแห่งเวลลิงตันได้ชัยชนะเหนือนายพลฌอง-อันดอเช ชูโนต์ในสมรภูมิไวเมโร และถือเป็นการขจัดอำนาจของนายพลชูโนต์และเป็นการปลดแอกโปรตุเกสในการประชุมแห่งซินทรา วันที่ 30 สิงหาคม อย่างไรก็ตามนายพลอาร์เธอร์ เวลเลสลีย์ได้กลับมาโปรตุเกสอีกครั้งในวันที่ 22 เมษายนปีถัดมาเพื่อประกาศสงคราม โปรตุเกสภายใต้กองทัพอังกฤษมีความสามารถในการป้องกันประเทศตามเส้นทางแห่งตอร์เรส เวดราสและการบุกรุกของสเปนและฝรั่งเศส
ในปีค.ศ. 1815 รัฐบาลพลัดถิ่นและราชวงศ์ได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่บราซิลในฐานะราชอาณาจักรอย่างเต็มรูปแบบ และพระนางมารีอาทรงได้รับพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส, บราซิล และ อัลการ์เวส เมื่ออำนาจของนโปเลียนสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1815 พระนางมารีอาและพระราชวงศ์ยังทรงประทับอยู่ที่บราซิล
ช่วงเวลา 9 ปีในบราซิลซึ่งเป็นที่ที่พระนางประทับอย่างไร้ความสุข พระนางมารีอาเสด็จสวรรคตที่คาร์เมลิต คอนแวนต์ ณ กรุงรีโอเดจาเนโรในปีค.ศ. 1816 สิริพระชนมายุ 81 พรรษา ซึ่งทรงดำรงพระชนม์ชีพยืนยาวที่สุดในบรรดากษัตริย์โปรตุเกสนับตั้งแต่สถาปนาราชอาณาจักรโปรตุเกส เจ้าชายฌูเอา พระโอรสได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อ พระนาม พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส พระบรมศพของพระนางมารีอาได้ส่งกลับมายังลิสบอน และฝังที่สุสานในโบสถ์แห่งเอสเตอราที่ซึ่งพระนางทรงอุปถัมภ์
ต่อมาพระบรมรูปหินอ่อนของพระนางได้ถูกสร้างขึ้นในห้องสมุดแห่งชาติกรุงลิสบอนโดยคณะนักศึกษาของ โจอาคิม มาร์ชาดา เดอ คัสโตรซึ่งเป็นผู้กำกับโครงการ
ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรสยาม
[แก้]พระนางเจ้ามารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกสถวายพระราชสาส์นโดยตรงจากกรุงลิสบอนสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ในปีค.ศ. 1786 (พ.ศ. 2329) ซึ่งเป็นปีที่ 5 ในรัชกาลที่ 1 แห่งสยาม ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ ก็ทรงตระหนักถึงการให้ความสำคัญของโปรตุเกสต่อรัตนโกสินทร์ที่เพิ่งตั้งได้เพียง 5 ปี จึงได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เตรียมการรับราชทูตแห่งโปรตุเกสอย่างสมเกียรติ แต่พระราชสาส์นของพระนางมารีอาได้สูญหาย จึงทำให้ปัจจุบันไม่ทราบความในพระราชสาส์น แต่ในพระราชสาส์นตอบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นทำให้ทราบว่าทางพระราชินีโปรตุเกสได้กราบบังคมทูลขอตั้งสถานีการค้าในกรุงเทพมหานครขึ้นและความช่วยเหลือทางการทหารเข้ามาด้วย นับเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามายังสยามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์[1]
พระบรมราชอิสริยยศ
[แก้]- 17 ธันวาคม ค.ศ. 1734 - 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1750 : เจ้าหญิงแห่งเบย์รา,ดัสเชสแห่งบาร์เซลุช
- 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1750 - 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777 : เจ้าหญิงแห่งบราซิล,ดัสเชสแห่งบรากันซา
- 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777 - ธันวาคม ค.ศ. 1815 : สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช
- ธันวาคม ค.ศ. 1815 - 20 มีนาคม ค.ศ. 1816 : สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และอัลการ์วึช
ดูเพิ่ม
[แก้]พระราชตระกูล
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ไกรฤกษ์ นานา.500 ปี สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน ไทย-โปรตุเกส.2553
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Maria I of Portugal
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าฌูเซที่ 1 | สมเด็จพระราชินีนาถแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช ปกครองร่วมกับพระสวามี พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส (จนกระทั่งค.ศ. 1786) (24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777 - 20 มีนาคม ค.ศ. 1816) |
พระเจ้าฌูเอาที่ 6 | ||
สถาปนาพระอิสริยยศ | สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส, บราซิล และอัลการ์วึช (16 ธันวาคม ค.ศ. 1815 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1816) |
พระเจ้าฌูเอาที่ 6 | ||
อิงฟังตาบาร์บาราแห่งโปรตุเกส | เจ้าหญิงแห่งไบรา (ค.ศ. 1734 - 1750) |
ตำแหน่งว่าง ลำดับถัดไปคือ เจ้าหญิงมารีอาแห่งโปรตุเกส | ||
อินฟันตามาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน | เจ้าหญิงแห่งบราซิล (ค.ศ. 1750 - ค.ศ. 1777) |
ตำแหน่งว่าง ลำดับถัดไปคือ อิงฟังตาบึนึดีตาแห่งโปรตุเกส |