ข้ามไปเนื้อหา

วิธีใช้:ส่วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้าหนึ่งสามารถและควรแบ่งเป็นส่วน โดยใช้วากยสัมพันธ์หัวเรื่องส่วน ทุกหน้าที่มีหัวเรื่องส่วนมากกว่าสามหัวเรื่อง จะสร้างสารบัญให้อัตโนมัติ หน้านี้อธิบายวากยสัมพันธ์ของส่วนย่อยเหล่านี้

การสร้างและกำหนดเลขส่วน

[แก้]

ส่วนสร้างขึ้นโดยสร้างหัวเรื่องของส่วน ดังด้านล่าง

== ส่วน ==
=== ส่วนย่อย ===
==== ส่วนย่อยของส่วนย่อย ====

โปรดอย่าใช้เครื่องหมายเท่ากับเครื่องหมายเดียวด้านข้าง (=หัวเรื่อง=) เพราะจะทำให้หัวเรื่องส่วนใหญ่เท่ากับชื่อหน้า (ชื่อเรื่อง) ใส่เครื่องหมายเท่ากับได้มากสุดหกเครื่องหมาย

ชื่อหัวเรื่องของส่วน (รวมทั้งส่วนย่อย) ในหน้านี้ไม่ควรซ้ำกัน การใช้หัวเรื่องเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้งในหน้าเดียวก่อปัญหาได้ ดังนี้

  • ลิงก์ภายใน (วิกิลิงก์) ไปยังส่วน ในแบบ [[ชื่อบทความ#หัวเรื่องส่วน]] จะลิงก์ไปเฉพาะส่วนแรกของหน้าที่มีชื่อนั้น ซึ่งอาจมิใช่เป้าหมายของลิงก์ที่ตั้งใจไว้
  • เมื่อแก้ไขส่วนที่มีชื่อซ้ำกัน ประวัติการแก้ไขและคำอธิบายจะกำกวมว่าส่วนใดถูกแก้ไขกันแน่
  • เมื่อบันทึกหน้าหลังการแก้ไขส่วน เบราว์เซอร์ของผู้เขียนอาจนำทางไปยังส่วนที่ผิด

การกำหนดเลข

[แก้]

สำหรับผู้ใช้ลงทะเบียนที่ใช้ การตั้งค่า → หน้าตา → กำหนดเลขหัวเรื่องอัตโนมัติ จะกำหนดเลขส่วนในสารบัญและขึ้นต้นแต่ละหัวเรื่องส่วน

สารบัญ (TOC)

[แก้]

การซ่อนสารบัญ

[แก้]

สำหรับหน้าที่มีพาดหัวอย่างน้อย 4 พาดหัวจะมีสารบัญปรากฏขึ้นอัตโนมัติ ยกเว้นใส่เมจิกเวิร์ด __NOTOC__ (ใส่เครื่องหมายขีดเส้นใต้สองครั้งขนาบข้างคำ) ลงในข้อความวิกิของบทความ เป็นกฏทั่วไปว่าให้ใช้ เฉพาะกับบทความที่ (ก) มีพาดหัวตั้งแต่ 4 พาดหัวขึ้นไป และ (ข) พออยู่ในจอภาพเดียว

การจัดตำแหน่งสารบัญ

[แก้]

เมื่อใส่รหัส __FORCETOC__ หรือ __TOC__ (ใส่เครื่องหมายขีดเส้นใต้สองครั้งขนาบข้างคำ) ลงในข้อความวิกิ สารบัญจะปรากฏแม้หน้ามีพาดหัวไม่ถึง 4 พาดหัว

การใช้ __FORCETOC__ จะวางตำแหน่งสารบัญไว้ก่อนพาดหัวส่วนแรก การใช้ __TOC__ จะวางตำแหน่งของสารบัญในตำแหน่งเดียวกับรหัสนี้

บทความส่วนมากมีข้อความบทนำก่อนถึงสารบัญ เรียกว่า "ส่วนนำ" แม้ปกติพาดหัวส่วนควรต่อท้ายสารบัญทันที แต่การใช้ __TOC__ ช่วยป้องกันไม่ให้คุณต้องใส่พาดหัวที่ไร้ความหมายเพื่อให้วางตำแหน่งสารบัญได้ถูกต้อง (คือ ไม่อยู่ด้านล่างของหน้ามากเกินไป) ทว่าหากมีข้อความใด ๆ อยู่ระหว่างสารบัญและพาดหัวแรก จะก่อให้เกิดปัญหาอ่านไม่สะดวก

การทำให้สารบัญลอย

[แก้]

ในบางกรณีสารบัญสามารถจัดชิดขวาหรือซ้ายได้โดยใช้ {{TOC right}} หรือ {{TOC left}} เมื่อมีประโยชน์ต่อการวางผังบทความ หรือเมื่อสารบัญโดยปริยายไปกีดขวางส่วนย่อยอื่น ก่อนเปลี่ยนสารบัญโดยปริยายให้เป็นสารบัญลอย ให้ลองพิจารณาตามแนวทางดังนี้ก่อน

  1. ถ้าจัดสารบัญลอย ควรวางไว้ ณ จุดสิ้นส่วนส่วนนำของข้อความก่อนถึงพาดหัวส่วนแรก ผู้ใช้โปรแกรมอ่านออกเสียงจอภาพ (screen reader) ไม่คาดหมายข้อความใด ๆ ระหว่างสารบัญและพาดหัวแรก อีกทั้งการไม่มีข้อความเหนือสารบัญก็น่าสับสน
  2. เมื่อจัดสารบัญลอย ให้ตรวจสอบดูว่าผังของหน้าจะถูกรบกวนหรือไม่หากผู้ใช้เลือกซ่อนสารบัญ
  3. รายการยาวอาจสร้างสารบัญที่ยาวมาก สารบัญไม่ควรยาวเกินจำเป็นไม่ว่าจัดลอยหรือไม่ก็ตาม สามารถใช้ {{TOC limit}} เพื่อลดความยาวของสารบัญโดยซ่อนส่วนย่อยซ้อนใน แทนการใช้สารบัญลอย
  4. สารบัญโดยปริยายวางไว้ก่อนพาดหัวแรก แต่อยู่หลังข้อความบทนำ ถ้าความย่อบทนำมีความยาวเพียงพอให้ผู้ใช้ทั่วไปเลื่อนลงมาเห็นส่วนบนสุดของสารบัญ คุณอาจจัดสารบัญลอยเพื่อให้สารบัญปรากฏอยู่ใกล้ส่วนบนสุดของบทความมากขึ้น ทว่า ในกรณีส่วนใหญ่สารบัญลอยควรอยู่ท้ายข้อความบทความย่อหน้าแรก
  5. การจัดลอยสารบัญกว้างจะทำให้มีข้อความอ่านได้เป็นแนวตั้งแคบ ๆ สำหรับผู้ใช้ความละเอียดต่ำ ถ้าความกว้างของสารบัญเกิน 30% ของจอภาพที่อ่านได้ของผู้ใช้ (ประมาณสองเท่าของขนาดแถบนำทางวิกิพีเดียทางซ้ายมือ) ก็ไม่เหมาะสมสำหรับจัดลอย ถ้าข้อความถูกหนีบไว้ระหว่างสารบัญลอยและภาพ สามารถยกเลิกการจัดลอยได้ ณ จุดข้อความหนึ่ง ๆ
  6. ถ้าสารบัญถูกจัดอยู่ใกล้เคียงกับภาพหรือกล่องที่จัดลอยอื่น สารบัญยังสามารถจัดลอยได้ตราบเท่าที่แนวตั้งข้อความที่ต่อเนื่องอยู่นั้นไม่แคบเกิน 30% ของความกว้างจอภาพที่เห็นได้ของผู้ใช้ทั่วไป
  7. สารบัญที่จัดลอยซ้ายอาจกระทบต่อรายการที่มีจุดหรือเลขนำ

การจำจัดความกว้างของสารบัญ

[แก้]

อาจมีเหตุขัดข้องทำให้ต้องจำกัดความกว้างของสารบัญเป็นร้อยละของหน้า ให้ใช้แม่แบบดังนี้ {{TOC left|width=30%}} (width=ความกว้างของหน้า)

การจำกัดความลึกของสารบัญ

[แก้]

สารบัญโดยปริยายจะรวบรวมพาดหัวทั้งหมดในหน้าไม่ว่าระดับใดก็ตาม เมื่อบทความหรือหน้าโครงการหนึ่งมีจำนวนส่วนย่อยมาก อาจเป็นการเหมาะสมที่จะซ่อนส่วนย่อยระดับล่างจากสารบัญ คุณสามารถเจาะจงขีดจำกัดสำหรับส่วนระดับต่ำสุดที่ควรแสดงได้โดยใช้ {{TOC limit|n}}, โดยที่ n เป็นจำนวนของสัญลักษณ์ = ที่ใช้ขนาบพาดหัวส่วนระดับต่ำสุดที่ควรแสดง (เช่น 3 เพื่อแสดง ===ส่วนย่อย=== แต่ซ่อน ====ส่วนย่อยของส่วนย่อย====) ตัวแปรเสริม limit=n ยังสามารถเติมให้ {{TOC left}} หรือ {{TOC right}} ในทำนองเดียวกัน

การเชื่อมโยงไปสารบัญ

[แก้]

สารบัญก่อกำเนิดอัตโนมัติด้วยเอชทีเอ็มแอล id="toc" คุณสามารถสร้างลิงก์ไปสารบัญด้วย [[#toc]] ดังนี้

  • หน้าเดียวกัน:
  • คนละหน้า:
    • รหัสวิกิ: [[วิธีใช้:การจัดรูปแบบวิกิ#toc|สารบัญ]]
    • ลิงก์: สารบัญ

การแทนสารบัญโดยปริยาย

[แก้]

สารบัญก่อกำเนิดอัตโนมัติไม่ได้เหมาะสมหรือมีประโยชน์ในบทความทุกประเภท เช่น บทความรายการหรืออภิธานศัพท์ยาว ๆ ฉะนั้นจึงมีแม่แบบทดแทนใช้ ถ้าต้องการใช้แม่แบบทดแทนดังกล่าว ให้ใส่ __NOTOC__ ไว้ในบทความ และใส่แม่แบบสารบัญทางเลือก เช่น {{Compact ToC}} (ซึ่งสามารถปรับแต่งได้หลายลีลารายการ) ในที่ที่ต้องการ

สารบัญแนวนอน

[แก้]

แม่แบบ {{Horizontal TOC}} จะจัดสารบัญให้เป็นรายการแนวนอนแทนแนวตั้ง ซึ่งมีประโยชน์ในสารบัญที่มีรายการสั้น ๆ จำนวนมาก ความสามารถในการแสดงสารบัญยาว ๆ โดยไม่ต้องเลื่อนขึ้นลงทำให้เหมาะกับตารางซึ่งแถวตารางมีพาดหัวส่วน

ดูตัวอย่างการใช้ใน Legality of cannabis (วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ)

การลิงก์ส่วน

[แก้]

ในรหัสเอชทีเอ็มแอลสำหรับแต่ละส่วน มีลักษณะประจำ "id" ที่มีชื่อเรื่องส่วนอยู่ id นี้ทำให้สามารถเชื่อมโยงโดยตรงไปยังส่วนต่าง ๆ ได้ มีเดียวิกิใช้หลักยึดส่วนเหล่านี้โดยอัตโนมัติเมื่อมีเดียวิกิก่อกำเนิดสารบัญสำหรับหน้า ฉะนั้นเมื่อคลิกพาดหัวส่วนในสารบัญจะโดดไปยังส่วน นอกจากนี้ หลักยึดส่วนยังสามารถทำลิงก์โดยตรงไปยังส่วนหนึ่งภายในหน้าหนึ่ง ๆ ได้

ตัวอย่างเช่น รหัสเอชทีเอ็มแอลที่ก่อกำเนิด ณ จุดเริ่มต้นของส่วนนี้ ได้แก่

<span class="mw-headline" id="Section_linking">การลิงก์ส่วน</span>

ลิงก์ส่วนไวต่ออักษรใหญ่เล็ก รวมทั้งอักขระตัวแรก ในการเชื่อมโยงไปยังส่วนของหน้าเดียวกัน คุณสามารถใช้ [[#ชื่อส่วน|ข้อความที่แสดง]] และในการเชื่อมโยงไปยังส่วนในหน้าอื่น ใช้ {{code|[[ชื่อหน้า#ชื่อส่วน|ข้อความที่แสดง}} หลักยึดไม่คำนึงถึงความลึกของส่วนนั้น (เช่น ส่วนย่อย หรือส่วนย่อยของส่วนย่อย) สำหรับการเชื่อมโยงไปยังส่วนหนึ่งส่วนใดให้ใช้ [[#ชื่อส่วนนั้น]] ได้เลย (ไม่ต้องใช้ {{code|#ชื่อส่วน#ชื่อส่วนย่อย}) เป็นต้น) สามารถผนวกเครื่องหมายอันเตอร์สกอร์และจำนวนแก่ชื่อส่วนที่ซ้ำกันได้ เช่น ถ้ามีส่วนชื่อ “ตัวอย่าง” ซ้ำกันสามส่วน ชื่อสำหรับการเชื่อมโยงส่วนจะได้แก่ “ตัวอย่าง”, “ตัวอย่าง_2” และ “ตัวอย่าง_3” อย่างไรก็ดี หลังแก้ไขส่วน “ตัวอย่าง_2” และ “ตัวอย่าง_3” แล้ว บุคคลจะไปยังส่วน “ตัวอย่าง” จากคำอธิบายอย่างย่อ หากส่วนหนึ่งมีช่องว่างเป็นพาดหัว จะทำให้ได้ลิงก์ในสารบัญที่ไม่ทำงาน ในการสร้างเป้าหมายหลักยึดโดยไม่มาดหัวส่วน คุณสามารถใช้แม่แบบ {{anchor}} หรือ span ดังนี้ <span id="anchor_name"></span>

ในการจัดรูปแบบการเชื่อมโยงไปยังส่วนด้วยเครื่องหมายส่วน ("§") แทนเครื่องหมาย "#" หรือข้อความปรับแต่งเอง ให้ใช้ {{Section link}} (หรือ {{slink}}) ตัวอย่างเช่น {{Section link|Foo|Bar}} มีผลเหมือนกับลิงก์ Foo#Bar แต่จะจัดรูปแบบเป็น Foo § Bar

หมายเหตุ:

  • ลิงก์ภายในในพาดหัวส่วนจะไม่มีผลรบกวนการเชื่อมโยงส่วน แต่ผู้ใช้ที่ตั้งค่าให้แก้ไขส่วนโดยการคลิกที่พาดหัวจะคลิกลิงก์เหล่านี้ไม่ได้
  • “ไพป์ทริก” ใช้ไม่ได้กับลิงก์ส่วน ดังนี้
    • [[#ส่วน| ]] ->
    • [[หน้า#ส่วน| ]] ->
    • [[เนมสเปซ:หน้า#ส่วน| ]] ->

สำหรับลิงก์ไปยังตำแหน่งใดก็ได้ในหน้าหนึ่ง ๆ ดู การลิงก์ส่วน

การเชื่อมโยงส่วนและการเปลี่ยนทาง

[แก้]

ลิงก์ที่ระบุส่วนหนึ่งของหน้าเปลี่ยนทางจะตรงกับลิงก์ไปยังส่วนที่มีชื่อเดียวกันของเป้าหมายหน้าเปลี่ยนทางนั้น

การเปลี่ยนทางไปยังส่วนหนึ่งของหน้าก็สามารถทำได้

แต่มีความยุ่งยากตรงที่การเปลี่ยนชื่อส่วนจะไม่สร้างการเปลี่ยนทางจากชื่อส่วนเดิม ซึ่งต่างจากการเปลี่ยนชื่อหน้า ฉะนั้นลิงก์ที่เข้ามายังชื่อส่วนเดิมจะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มลิงก์หลักยึดเองไปยังชื่อเก่า โดยใช้แม่แบบ {{Anchor}}

อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ต้องการเก็บลิงก์ไปยังชื่อเก่าไว้ คุณจะต้องไล่หาลิงก์เดิมและแก้ไข ไม่มีคุณลักษณะ หน้าที่ลิงก์มา สำหรับส่วน คือ รายการไม่แยกแยะระหว่างลิงก์ไปยังส่วนหนึ่งและลิงก์ไปยังหน้าทั้งหน้า การขัดตาทัพต่อไปนี้จะช่วย “ป้องกัน” ลิงก์ที่เข้ามาในอนาคตที่คุณเชื่อมโยงไปยังส่วนหนึ่ง แต่จะไม่ช่วยเมื่อไล่ตามลิงก์ธรรมดาไปยังส่วนระหว่างการเปลี่ยนชื่อ

  • แทนการลิงกไปยังส่วนโดยตรง ให้ลิงก์ไปยังหน้าที่เปลี่ยนทางไปยังส่วน เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อส่วน ก็เพียงเปลี่ยนเป้าหมายการเปลี่ยนทางเท่านั้น ด้วยวิธีนี้ หน้าที่เชื่อมโยงไปยังส่วนสามารถระบุได้โดยการใช้ “หน้าที่ลิงก์มา” กับหน้าเปลี่ยนทาง สามารถใช้เครื่องมือ tools:~dispenser/cgi-bin/rdcheck.py เพื่อค้นหาการเปลี่ยนทางไปยังส่วนที่มีอยู่
  • ใช้หลักยึดด้วยมือเมื่อคุณต้องการเชื่อมโยงไปยังส่วน เพื่อให้ไม่ต้องขึ้นอยู่กับชื่อส่วนเปลี่ยนแปลงไม่ได้
  • ใส่ความเห็นในข้อความวิกิเมื่อเริ่มต้นหน้าที่แสดงรายการส่วนที่เชื่อมโยงไปยังส่วนนั้น
  • ทำให้ส่วนนั้นเป็นหน้า/แม่แบบแยกต่างหาก แล้วรวมผ่าน (transclude) ไปยังหน้า หรือเพียงเชื่อมโยงไปยังหน้า/แม่แบบ กล่าวคือ เชื่อมโยงไปยังหน้าใหม่แทนการเชื่อมโยงไปยังส่วน

สามารถจัดหน้าเปลี่ยนทางเข้าหมวดได้โดยเพิ่มป้ายระบุหมวดหมู่หลังคำสั่งเปลี่ยนทาง ในกรณีที่เป้าหมายของการเปลี่ยนทางเป็นส่วน จะมีผลบ้างในการจัดหมวดส่วนนั้น ทว่าผ่านการเปลี่ยนทางลิงก์หน้าหมวดหมู่ไปยังส่วน หากไม่ใส่ลิงก์ให้ชัดเจน ส่วนนั้นจะไปโยงไปยังหมวดหมู่ ในหน้าหมวดหมู่ มีการแสดงหน้าเปลี่ยนทางด้วยคลาสหน้าเปลี่ยนทางในหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถแสดงเป็นตัวเอนได้ ซึ่งนิยามได้ใน MediaWiki:Common.css

การแก้ไขเฉพาะส่วน

[แก้]

สามารถแก้ไขส่วนแยกกันได้โดยคลิกลิงก์แก้ไขพิเศษที่เขียนระบุว่า "[แก้]" ที่อยู่ข้างพาดหัวหรือโดยคลิกขวาบนพาดหัวส่วน ซึ่งเรียก "การแก้ไขเฉพาะส่วน"

คุณลักษณะการแก้ไขเฉพาะส่วนจะนำคุณเข้าสู่หน้าแก้ไขที่มียูอาร์แอลอย่าง https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=วิธีใช้:ส่วน&action=edit&section=13

สังเกตว่าในที่นี้จะใช้เลขส่วน ไม่ใช่ชื่อของส่วน ส่วนย่อยจะมีเลขเดียว เช่น ส่วน 2.1 อาจได้รับเลข 3, ส่วนที่ 3 จะกลายเป็นเลข 4 เป็นต้น คุณยังสามารถพิมพ์ยูอาร์แอลดังกล่าวโดยตรงในแถบที่อยู่ของเบราว์เซอร์คุณ แบบนี้จะสะดวกหากการแก้ไขนั้นไม่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่น และบุคคลไม่ต้องการให้ข้อความส่วนอื่นมารบกวนระหว่างการแก้ไข การแก้ไขส่วนลดปัญหาบางอย่างของหน้าขนาดใหญ่ คือ ทำให้แก้ไขเร็วขึ้นเล็กน้อยและทำให้หาข้อความที่คุณต้องการเปลี่ยนได้ง่ายขึ้นมาก นอกจากนี้ยังช่วยเมื่อหน้าเต็มมีขนาดใหญ่เกินกว่าเบราว์เซอร์จัดการกับทั้งหมดในตัวแก้ไขพร้อมกัน

การเพิ่มรหัส __NOEDITSECTION__ ไม่ว่าที่ใดในหน้าจะลบลิงก์แก้ไข แต่ไม่ได้ปิดใช้งานการใช้งานส่วนเสียทีเดียว โดยจะยังเข้าถึงยูอาร์แอลด้วยการพิมพ์ในแถบที่อยู่ในตามปกติ

การแทรกส่วนสามารถทำได้โดยแก้ไขส่วนที่อยู่ก่อนหน้าหรือตามหลัง ตัวแก้ไขจะผสานส่วนหนึ่งเข้ากับส่วนก่อนหน้าโดยการลบพาดหัว สังเกตว่าชื่อส่วนที่เตรียมไว้ในคำอธิบายอย่างย่อจะไม่ถูกต้อง และต้องเปลี่ยนหรือลบ

การเพิ่มส่วนท้ายหน้า

[แก้]

การนำทางในหน้าจากเนมสเปซ "คุย" จะมีลิงก์พิเศษใช้ชื่อว่า "+", "+" หรือ "เพิ่มหัวข้อ" ที่ใช้เพื่อสร้างส่วนใหม่ไว้ท้ายหน้า [1] หน้าที่มีรหัส __NEWSECTIONLINK__ ในข้อความวิกิจะแสดงลิงก์นี้ ไม่ว่าอยู่ในเนมสเปซใด

ยูอาร์แอลสำหรับการเพิ่มส่วนท้ายหน้าจะเป็นดังนี้ https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2:Sandbox&action=edit&section=new

ในกรณีนี้ กล่องข้อความที่มีชื่อเรื่อง "หัวข้อ" จะปรากฏ และเนื้อหาที่คุณพิมพ์จะกลายเป็นชื่อของพาดหัวส่วนใหม่ ไม่มีกล่องป้อนเข้าสำหรับคำอธิบายอย่างย่อ แต่จะสร้างขึ้นอัตโนมัติ อย่าแก้ไข "ส่วนที่มีอยู่สุดท้าย" ก่อนสร้างส่วนใหม่ เพราะจะส่งผลให้เกิดคำอธิบายอย่างย่อที่ทำให้เข้าใจผิดซึ่งจะซ่อนการสร้างส่วน

การแก้ไขก่อนส่วนแรก

[แก้]

โดยปริยายไม่มีลิงก์แก้ส่วนนำของหน้า ฉะนั้นจะต้องแก้ไขทั้งหน้าเท่านั้น การแก้ไขส่วนนำสามารถเปิดใช้งานได้ผ่าน ตั้งค่า → อุปกรณ์เสริม → แกเจตปรับแต่งการหน้าตา → edittop - เพิ่มส่วนแก้ไขเฉพาะสำหรับแก้ไขย่อหน้าแรก

การแสดงตัวอย่าง

[แก้]

การแสดงตัวอย่างในการแก้ไขเฉาพะส่วนจะไม่แสดงตัวอย่างเดียวกับการแสดงตัวอย่างทั้งหน้าเสมอไป เช่น หากทั้งหน้ามีภาพในส่วนก่อนหน้าที่ล้ำเข้ามาในส่วนดังกล่าวจะไม่แสดง นอกจากนี้ <ref> ยังมักถูกซ่อนด้วย

หน้าแก้ไขแสดงรายการแม่แบบที่ใช้ทั้งหน้า คือ แม่แบบที่ใช้ในส่วนอื่น

อรรถาธิบาย

[แก้]
  1. สกินเวกเตอร์สามารถซ่อนลิงก์ใต้รายการเลือกปล่อยลง ได้