ข้ามไปเนื้อหา

ก๊กมินตั๋ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พรรคก๊กมินตั๋ง)
พรรคก๊กมินตั๋งแห่งประเทศจีน
中國國民黨
ประธานWu Den-yih
เลขาธิการTseng Yung-chuan
ก่อตั้ง10 ตุลาคม 1919; 105 ปีก่อน (1919-10-10)
ก่อนหน้าสมาคมซิงจงฮุ่ย (สมาคมฟื้นฟูประเทศจีน) (1894)
ถงเหมิงฮุ่ย (1905)
พรรคจีนปฏิวัติ (1914)
ที่ทำการถนนหมายเลข 232~234, Sec. 2, ถนนป้าเต๋อ, เขตจงชาน, กรุงไทเป, สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)[1]
หนังสือพิมพ์Central Daily News
Kuomintang News Network
สถาบันนโยบายNational Policy Foundation
ฝ่ายเยาวชนสมาคมยุวชนก๊กมินตั๋ง
ฝ่ายทหารกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ (ค.ศ. 1924-1947)
สมาชิกภาพ  (ปี 2017)1,090,000[2]
อุดมการณ์
จุดยืนพรรคฝ่ายค้านขวากลาง (กลางเอียงขวา)
กลุ่มระดับชาติพันธมิตรฟั่นหลัน (แนวร่วมสีคราม)
กลุ่มระดับสากลกลุ่มประชาธิปไตยสายกลางสากล
สหภาพประชาธิปไตยสากล
สี  น้ำเงิน
สภานิติบัญญัติหยวน
51 / 113
Municipal Mayoralties
4 / 6
City Mayoralties and County Magistracies
10 / 16
สมาชิกสภาท้องถิ่น
367 / 910
หัวหน้าเขตการปกครอง
75 / 204
เว็บไซต์
www.kmt.org.tw
ธงประจำพรรค
การเมืองสาธารณรัฐจีน
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง
พรรคก๊กมินตั๋ง
"ก๊กมินตั๋ง (Guómíndǎng)" ในอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และ อักษรจีนตัวย่อ (ล่าง)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม中國國民黨
อักษรจีนตัวย่อ中国国民党
ความหมายตามตัวอักษรพรรคแห่งชาติจีน
ชื่อย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม國民黨
อักษรจีนตัวย่อ国民党
ความหมายตามตัวอักษรพรรคแห่งชาติ
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต ཀྲུང་གོའི་གོ་མིན་ཏང
ชื่อภาษาจ้วง
ภาษาจ้วงCunghgoz Gozminzdangj
ชื่อภาษามองโกเลีย
อักษรซิริลลิกมองโกเลียДундадын (Хятадын) Гоминдан (Хувьсгалт Нам)
อักษรมองโกเลีย ᠳᠤᠮᠳᠠᠳᠤ ᠶᠢᠨ
(ᠬᠢᠲᠠᠳ ᠤᠨ)
ᠭᠣᠮᠢᠨᠳᠠᠩ
(ᠬᠤᠪᠢᠰᠬᠠᠯᠲᠤ ᠨᠠᠮ)
ชื่อภาษาอุยกูร์
ภาษาอุยกูร์
جۇڭگو گومىنداڭ
ชื่อภาษาแมนจู
อักษรแมนจู ᠵᡠᠩᡬᠣ ᡳ
ᡬᠣᠮᡳᠨᡩᠠᠩ
อักษรโรมันJungg'o-i G'omindang

พรรคชาตินิยมจีน (จีนตัวย่อ: Chûng-fà Mìn-koet Koet-mìn-tóng; จีนตัวเต็ม: 中國國民黨; พินอิน: Zhōngguó Guómíndǎng; อังกฤษ: Chinese Nationalist Party) หรือมักเรียกว่า ก๊กมินตั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กั๋วหมินต่าง ตามสำเนียงกลาง (Kuomintang; ย่อว่า KMT) เป็นพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมของสาธารณรัฐจีนซึ่งยังคงดำรงอยู่ในไต้หวัน ปัจจุบันพรรคก๊กมินตั๋งเป็นพรรคการเมืองในสภานิติบัญญัติของไต้หวัน

พรรคก๊กมินตั๋งโดยเริ่มแรกนั้นเป็น "พันธมิตรปฏิวัติประชาธิปไตยจีน" หรือ (ถงเหมิงฮุ่ย) เป็นขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยหลักในการโค่นล้มราชวงศ์ชิงเริ่มมีบทบาทในการลุกฮือที่อู่ชางในปี ค.ศ. 1911 และประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐจีนบนแผ่นดินใหญ่

พรรคก๊กมินตั๋งได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยซ่ง เจี่ยวเหรินและ ดร.ซุน ยัตเซ็น หลังจากการปฏิวัติซินไฮ่ ในปี ค.ศ. 1911 ดร.ซุนได้ชนะผลการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีนคนแรก แต่ต่อมาเขาก็ยกตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่ยฺเหวียน ชื่อไข่ทำให้ประเทศจีนแตกแยกเป็นขุนศึกประจำแคว้นต่างๆ หรือที่เรียกว่าสมัยขุนศึก ต่อมาพรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของเจียง ไคเชกได้ประกาศเจตนารมณ์รวมแผ่นดินจีนอีกครั้ง ทางพรรคได้จัดตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนซึ่งประสบความสำเร็จในการกรีธาทัพขึ้นไปทางเหนือเพื่อปราบเหล่าขุนศึกและรวมประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1928 ยุติความโกลาหลของยุคขุนศึก

เมื่อรวบรวมแผ่นดินจีนสำเร็จพรรคก๊กมินตั๋งได้กลายมาเป็นพรรคการเมืองหลักที่ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคก๊กมินตั๋งได้พ่ายแพ้สงครามกลางเมืองจีนให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพรรคคู่แข่ง ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งได้ลี้ภัยหนีไปเกาะไต้หวันและตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนขึ้นใหม่ปกครองในฐานะรัฐเผด็จการพรรคเดียว ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ที่ยึดแผ่นดินใหญ่ได้ตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ส่วนสาธารณรัฐจีนที่ไต้หวันภายใต้พรรคก๊กมินตั๋งยังคงมีที่นั่งในองค์การสหประชาชาติในฐานะรัฐบาลตัวแทนของประเทศจีนที่ถูกต้อง (พร้อมด้วยการสนับสนุนจากตะวันตก) จนถึงปี ค.ศ. 1971

ไต้หวันได้ตัดสินใจยุติสถานะเป็นรัฐภายใต้พรรคการเมืองเดียวในปี ค.ศ. 1986 และเริ่มการปฏิรูปประชาธิปไตยทางการเมืองที่เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1990 ได้มีการคลายอิทธิพลอำนาจของพรรคก๊กมินตั๋ง อย่างไรก็ตามพรรคก๊กมินตั๋งยังคงเป็นหนึ่งในพรรคการเมืองหลักของไต้หวันโดยมี หม่า อิงจิ่ว ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2008 และได้ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี ค.ศ. 2012 โดยเป็นสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งคนที่เจ็ดที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

ในการเลือกตั้งทั่วไปและการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. 2016 พรรคก๊กมินตั๋งได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าได้รับการควบคุมทั้งสภานิติบัญญัติหยวนและ ไช่ อิงเหวิน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

การก่อตั้งพรรคและดร.ซุนยัตเซ็น

[แก้]
กองทัพฝ่ายปฏิวัติถงเหมิงฮุ่ยบุกเข้าเมืองหนานจิงในช่วงการปฏิวัติซินไฮ่ ปี ค.ศ. 1911
ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง ได้รับความเคารพถือและยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งชาติ" หรือ "บิดาแห่งสาธารณรัฐจีน"

ในเริ่มแรกนั้นพรรคก๊กมินตั๋งได้สืบทอดอุดมการณ์และรากฐานขององค์กรต่อจากภาระกิจของดร.ซุนยัตเซ็น นักปฏิวัติประชาธิปไตยจีน ผู้ก่อตั้งสมาคมซิงจงฮุ่ยซึ่งเป็นสมาคมเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูจีนและต่อต้านราชวงศ์ชิงขึ้นที่กรุงโฮโนลูลูเมืองหลวงของเกาะฮาวายในวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894[9] สมาคมซิงจงฮุ่ยได้ทำการรวบรวมอาสาสมัครและลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิงครั้งแรกที่กวางโจวแต่ประสบความล้มเหลว ในปี ค.ศ. 1905 ดร.ซุนได้เข้าร่วมกับสมาคมเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านระบอบศักดินา-ราชาธิปไตยของราชสำนักชิงกลุ่มอื่นๆที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และตั้งเป็นสมาคมถงเหมิงฮุ่ย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1905 เป็นสมาคมที่มุ่งมั่นที่จะโค่นล้มราชวงศ์ชิงโดยเฉพาะและต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศเป็นสาธารณรัฐ

สมาคมถงเหมิงฮุ่ยได้วางแผนและสนับสนุนการปฏิวัติซินไฮ่ ในปี ค.ศ. 1911 และการก่อตั้งสาธารณรัฐจีนเป็นครั้งแรกบนแผ่นดินใหญ่จีน เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 อย่างไรก็ตามดร.ซุนไม่ได้มีอำนาจทางทหารอย่างเต็มที่และเขาได้ยกตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐให้แก่ยฺเหวียน ชื่อไข่ โดยการยื่นข้อเสนอกับการบังคับให้จักรพรรดิผู่อี๋ (จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง) สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์

พรรคก๊กมินตั๋งรบกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพื่อชิงอำนาจปกครองประเทศ ก่อนจะพ่ายแพ้และถอยหนีไปไต้หวันในปี พ.ศ. 2492 และตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่นั่น ก๊กมินตั๋งบริหารประเทศโดยเป็นรัฐบาลพรรคเดียวจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างปลายทศวรรษปี พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2533 ก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง ในสมัยแรก ๆ ที่พรรคก๊กมินตั๋งเข้าปกครองไต้หวัน และชื่อก๊กมินตั๋งใช้เรียกราวกับมีความหมายเหมือนกันหมายถึงจีนชาตินิยม ปีพ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) พรรคจีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน ทำให้ประเทศต่าง ๆ พากันตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน หันมารับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน (รวมถึงประเทศไทย) ส่งผลให้ไต้หวันถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก ซึ่งทางพรรคได้บทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวัน เช่น การสร้างประเทศด้วยระบอบตลาดเสรีแบบทุนนิยม หันมาเน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจของไต้หวันมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย อาจจะกล่าวได้ว่าทางพรรคได้มีบทบาทในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ แต่การเมืองของไต้หวันก็ถูกมองว่ากึ่งเผด็จการเนื่องจาก ปกครองโดยพรรคการเมืองเดียว พ.ศ. 2549 ก๊กมินตั๋งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีที่นั่งในสภามากที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นพรรคการเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ด้วยทรัพย์สินประเมินอยู่ราว 2,600-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทรัพย์สินของพรรคค่อย ๆ ขายออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543[10]

นโยบาย

[แก้]
กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋งช่วงรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน ปี ค.ศ. 2004

ภายหลังจากที่พรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวันในปี 2543 พรรคมีนโยบายที่จะผูกมิตรกับทางแผ่นดินใหญ่ และในปี พ.ศ. 2551 พรรคก๊กมินตั๋งชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง นายหม่า อิงจิ่วได้ดำเนินนโยบายร่วมมือทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลปักกิ่ง เปิดเที่ยวบินตรงระหว่าง 2 จีน ประนีประนอมและสนับสนุนการค้ากับแผ่นดินใหญ่ จากนโยบายดังกล่าวทำให้ถูกพรรคฝ่ายค้านโจมตีว่านำอธิปไตยของไต้หวันไปผูกไว้กับแผ่นดินใหญ่[11] และก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 นายหม่า อิงจิ่วได้บินไปพบกับนายสี จิ้นผิงที่สิงคโปร์[12]เพื่อชูนโยบายสนับสนุนความร่วมมือกับแผ่นดินใหญ่ นับว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้นำจากจีนยอมมาพบกับผู้นำไต้หวันเพื่อพูดคุยถึงประเด็น 2 จีนเป็นครั้งแรก ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็เลือกที่จะนิยามจีนในรูปแบบของตนเอง โดยนายหม่า ปฏิเสธว่าไม่ได้เล่นเกมการเมืองเพื่อคะแนนเสียงแต่อย่างใด [13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kuomintang Official Website". Kuomintang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 13 September 2011.
  2. Hsu, Stacy (16 January 2017). "Hung urges for scrutiny of KMT leader elections". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  3. "政策綱領". Kmt.org.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-13. สืบค้นเมื่อ 2016-06-19.
  4. The Editors of Encyclopædia Britannica. "Three Principles of the People". Encyclopædia Britannica. {{cite encyclopedia}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. Mary C. Wright (1955). From Revolution to Restoration: The Transformation of Kuomintang Ideology. Association for Asian Studies. pp. 515–532.
  6. Jonathan Fenby (2005). Chiang Kai Shek: China's Generalissimo and the Nation He Lost. Carroll & Graf Publishers. p. 504. ISBN 978-0-7867-1484-1. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  7. Hans Kohn, Nationalism: Its Meaning and History (1955) p. 87.
  8. "Party Charter". Kmt.org.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-06. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
  9. See (Chinese) "Major Events in KMT" History Official Site of the KMT เก็บถาวร 2009-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน last accessed Aug. 30, 2009
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-29. สืบค้นเมื่อ 2006-01-09.
  11. http://www.thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=126:art17&catid=28&Itemid=106&lang=th[ลิงก์เสีย]
  12. http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000124154[ลิงก์เสีย]
  13. http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/636051