ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

Sacrum Imperium Romanum (ละติน)
Heiliges Römisches Reich (เยอรมัน)
ค.ศ. 800–1806
ธงชาติจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ธงชาติ (ค.ศ. 1430–1806)
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1790–1806)ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1790–1806)
เพลงชาติ(ค.ศ. 1797–1806)
ก็อทเอไฮล์ทีฟรานซ์ดินไคเซอร์
("พระเจ้าทรงคุ้มครองจักรพรรดิฟรันซ์")
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ช่วงรุ่งเรืองที่สุด เทียบกับพรมแดนประเทศในปี ค.ศ.1181
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ช่วงรุ่งเรืองที่สุด เทียบกับพรมแดนประเทศในปี ค.ศ.1181
วิวัฒนาการอาณาเขตของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
วิวัฒนาการอาณาเขตของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เมืองหลวงไม่มีอย่างเป็นทางการ; นครศูนย์กลางอำนาจมีหลากหลายตลอดประวัติศาสตร์[1]
ภาษาทั่วไปละติน เยอรมัน อิตาลี เช็ก ดัตช์ ฝรั่งเศส สโลวีเนีย และอื่น ๆ
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
การปกครองสมาพันธรัฐแบบราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 800-814
ชาร์เลอมาญ
• ค.ศ. 962-967
อ็อทโทที่ 1
• ค.ศ. 1027-1039
คอนราดที่ 2
• ค.ศ. 1530-1556
ชาลส์ที่ 5
• ค.ศ. 1637-1657
แฟร์ดีนันด์ที่ 3
• ค.ศ. 1792-1806
ฟรันซ์ที่ 2
ยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง-สมัยใหม่ตอนต้น
• จักรพรรดิอ็อทโทที่ 1 ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลี
2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 800
ค.ศ. 1034
25 กันยายน ค.ศ. 1555
24 ตุลาคม ค.ศ. 1648
• จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ยุบจักรวรรดิ
6 สิงหาคม 1806
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก
สวิตเซอร์แลนด์
สาธารณรัฐดัตช์
สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์
จักรวรรดิออสเตรีย
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง
ราชอาณาจักรปรัสเซีย

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, เยอรมัน: Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1806 โดย ราชอาณาจักรเยอรมนีถือเป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา 962 แว่นแคว้นในจักรวรรดิ รองลงมาคือ ราชอาณาจักรโบฮีเมีย ราชอาณาจักรบูร์กอญ ราชอาณาจักรอิตาลี

ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 800 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกให้ชาร์เลอมาญ กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันโดยปกครองดินแดนทั้งหมดในยุโรปตะวันตก ลูกหลานของชาร์เลอมาญก็ได้สืบทอดบัลลังก์นี้ไปจนถึง ค.ศ. 899 หลังจากนั้นบัลลังก์แห่งแฟรงก์ก็ตกไปเป็นของผู้ปกครองชาวอิตาลีจนถึง ค.ศ. 924 บัลลังก์ได้ว่างลงเป็นระยะเวลากว่า 38 ปี จนเมื่อพระเจ้าอ็อทโทแห่งเยอรมนีสามารถพิชิตอิตาลีได้ พระองค์ก็เจริญรอยตามชาร์เลอมาญ[2] โดยให้พระสันตะปาปาประกอบพิธีราชาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 962 เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิซึ่งจะดำรงอยู่กว่าแปดศตวรรษจากนี้[3]

เนื่องจากจักรวรรดินี้ดำรงอยู่เป็นระยะเวลากว่าแปดร้อยปี ดินแดนของจักรวรรดิจึงแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาในประวัติศาสตร์ ดินแดนในจักรวรรดิมีหลายฐานะ ตั้งแต่ ราชอาณาจักร ราชรัฐ ดัชชี, เคาน์ตี, เสรีนคร และอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สาธารณรัฐเช็ก สโลวีเนีย, บางส่วนในอิตาลี บางส่วนในฝรั่งเศส บางส่วนในโปแลนด์

เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะทำสงครามรุกรานขยายอาณาเขตได้อีกต่อไป การดำรงอยู่ของจักรวรรดิ์กลายเป็นเรื่องของการรักษาสันติภาพและความมั่นคงภายใน โดยตัวจักรวรรดิมีหน้าที่คอยแก้ไขปมขัดแย้งระหว่างรัฐใต้ปกครองโดยทางสันติวิธี และรัฐใต้ปกครองก็มีผลประโยชน์ร่วมกันที่จะรักษาจักรวรรดิไว้จากพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ของเหล่าผู้ปกครองด้วยกัน โดยเฉพาะรัฐเล็ก ๆ ที่มีความทะเยอทะยานแบบจักรวรรดินิยม ฯ บทบาทในการรักษาสันติของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยให้สันติภาพเวสต์ฟาเลีย ปี ค.ศ. 1648 ดำเนินไปได้โดยราบรื่น

หลังพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ในปี ค.ศ. 1805 จักรวรรดิได้สูญเสียรัฐต่าง ๆ ไปจำนวนมากแก่ฝรั่งเศส ในการนี้ จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้เอารัฐที่ยึดมาได้จัดตั้งขึ้นเป็นสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ ส่งผลให้จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตัดสินใจยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน

ที่มาของชื่อ

[แก้]

หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 จากการสละราชสมบัติของจักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ดินแดนของชาวโรมันก็แตกออกเป็นดินแดนน้อยใหญ่มากมาย สามร้อยกว่าปีให้หลัง ชาร์เลอมาญก็สามารถรวบรวมดินแดนของโรมันกลับมาเป็นหนึ่งได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 800 โดยมีชื่อในระยะแรกนี้เพียงแค่ว่า "จักรวรรดิโรมัน" (Roman Empire) มาจนถึงราวปี ค.ศ. 1157[4] ต่อมาเมื่อจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 สามารถปกครองอิตาลีและวาติกันได้ จักรวรรดิก็ถูกเรียกว่า "จักรวรรดิอันศักดิ์สิทธิ์" (Holy Empire)[5] ซึ่งได้พัฒนาไปเป็นคำว่า "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" ที่เริ่มปรากฏตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา[6]

ใน ค.ศ. 1512 สภานิติบัญญัติแห่งโคโลญได้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นมา โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน (เยอรมัน: Heiliges Römisches Reich Deutscher Nation)[7][8] ซึ่งสะท้อนถึงสภาวะการเมืองของจักรวรรดิซึ่งได้สูญเสียอาณาเขตเหนืออิตาลีและเบอร์กันดีไปจนเกือบหมดในช่วงปลายศตวรรษ ที่ 15[9] ชื่อนี้เป็นชื่อที่ปรากฏในเอกสารบางฉบับมาตั้งแต่ ค.ศ. 1474[5] และถูกใช้งานจนถึงปลายคริตส์ศตวรรษที่ 18 ก็เป็นอันเลิกใช้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ต้นสมัยกลาง

[แก้]

เมื่ออำนาจของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในแผ่นดินกอลถึงคราวเสื่อมลงในคริสต์ศตวรรษที่ 5 พวกชนเผ่าเยอรมันทั้งหลายจึงควบคุมแผ่นดินนี้แทนที่[10] ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นศตวรรษที่ 6 ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงภายใต้โคลวิสที่ 1 และทายาท สามารถรวบรวมชนเผ่าแฟรงก์ต่างๆเข้าด้วยกัน และแผ่ขยายอิทธิพลไปเหนือดินแดนส่วนอื่นๆทางตอนเหนือของแผ่นดินกอล ตลอดจนภูมิภาคหุบเขาลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนกลาง จนกระทั่งในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงเริ่มสูญเสียอำนาจ ตระกูลการอแล็งเฌียงภายใต้ผู้นำชาร์ล มาร์แตล กลายเป็นผู้กุมอำนาจตัวจริง ที่สุดในปีค.ศ. 751 เปแป็ง บุตรชายของมาร์แตล ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ด้วยแรงหนุนจากพระสันตะปาปา[11][12] ราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงจึงเป็นมิตรที่ใกล้ชิดกับศาสนจักรมานับแต่นั้น[13]

ในปี 768 ชาร์เลอมาญ โอรสของเปแป็ง ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระบิดา และทำสงครามแผ่ขยายดินแดนอย่างกว้างขวาง ชาร์เลอมาญปกครองเหนือดินแดนที่ในปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ตอนเหนือประเทศอิตาลี [14][15] ในวันคริสต์มาสปี 800 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงครอบมงกุฏสถาปนาให้ชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน ซึ่งเป็นการฟื้นฟูอิสริยยศดังกล่าวเป็นครั้งแรกนับแต่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายเมื่อ 300 ปีก่อนหน้า[16]

ยุคสามอาณาจักรแฟรงก์

[แก้]

ภายหลังจักรพรรดิชาร์เลอมาญเสด็จสวรรคตในปี 814 เจ้าชายหลุยส์จึงขึ้นสืบราชสมบัติต่อ แต่ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิหลุยส์ในปี 840 ก็เกิดสงครามชิงบัลลังก์ในหมู่พระโอรส และนำไปสู่การตกลงกันตามสนธิสัญญาแห่งแวร์เดิงในปี 843 ซึ่งแบ่งจักรวรรดิราชวงศ์การอแล็งเฌียงออกไปเป็น 3 อาณาจักร:

สามอาณาจักรรวมเป็นหนึ่งได้อีกครั้งในปี 887 ภายใต้พระเจ้าคาร์ลผู้อ้วนท้วน แต่ก็เพียงชั่วขณะเท่านั้น เพราะเมื่อทรงสวรรคตในปี 888 จักรวรรดิราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงก็แตกออกจากกันและไม่เคยรวมกันได้อีกเลย ส่วนกลางของจักรวรรดิแตกออกเป็นอาณาจักรย่อย ๆ รวมทั้งตอนบนและล่างของบูร์กอญกับอิตาลี ซึ่งปกครองด้วยกษัตริย์ที่มิได้มีเชื้อสายราชวงศ์กาโรแล็งเฌียง (แต่ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในท้องถิ่น)[17]

อีกด้านหนึ่ง อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกก็เผชิญกับปัญหาเดียวกันและเกือบแตกออกเป็นประเทศเล็กน้อย แต่ยุติวิกฤติลงได้เมื่อเหล่าดยุกผู้ครองแคว้นทั้ง 5 ของอาณาจักร ได้แก่ อลามันน์, บาวาเรีย, ฟรังเคิน และซัคเซิน ได้เลือก คอนราด ดยุกแห่งฟรังเคิน ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกในปีค.ศ. 911 โดยเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ไม่ได้ทรงมีเชื้อสายกษัตริย์แฟรงก์ แต่รัชสมัยของพระองค์ก็เต็มไปด้วยการรบพุ่งเพื่อแย่งชิงอำนาจภายใน พระเจ้าคอนราดสวรรคตเพราะได้รับบาดเจ็บในสงครามปราบพวกดยุกผู้ครองแคว้น ก่อนสิ้นใจทรงมอบราชบัลลังก์ให้แก่ดยุกแห่งซัคเซิน ซึ่งได้ขึ้นสืบราชสมบัติในนามพระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี

สถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]
ตราเหยี่ยวสองหัวพร้อมด้วยตราอาร์มแผ่นดินของแว่นแคว้นต่างๆในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 ผู้เป็นชาวซัคเซิน ทรงยอมรับส่วนที่เหลือของอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกในปี ค.ศ. 919 (แต่อาณาจักรตะวันตกยังถูกปกครองโดยราชวงศ์กอรอแล็งเฌียง) และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ตะวันออกและกำเนิดราชวงศ์อ็อทโท ภายหลังพระเจ้าไฮน์ริชสวรรคตในปีค.ศ. 931 พระราชกุมารอ็อทโทก็ขึ้นสืบราชสมบัติแฟรงก์ตะวันออกเป็นพระเจ้าอ็อทโทที่ 1 แห่งเยอรมนี

ในปีค.ศ. 951 พระเจ้าอ็อทโทช่วยเหลือราชินีหม้ายอาเดลไลเดอแห่งอิตาลีกำจัดอริศัตรูของพระนาง และทำการอภิเษกสมรสกับพระนาง พระเจ้าอ็อทโทจึงได้ปกครองเหนือสองอาณาจักร (แฟรงก์ตะวันออกและอิตาลี) ต่อมาในปีค.ศ. 955 พระเจ้าอ็อทโทมีชัยชนะขาดลอยเหนือพวกมัจยาร์ (พวกฮังการี) ในยุทธการที่เล็ชเฟ็ลท์ การมีชัยเหนือพวกฮังการีนอกศาสนายังทำให้พระองค์มีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างมากในฐานะ "ผู้กอบกู้แห่งคริสตจักร" ต่อมาในปีค.ศ. 960 รัฐสันตะปาปาถูกคุกคามโดยกษัตริย์เบเรนการ์ที่ 2 แห่งอิตาลี พระสันตะปาปาขอความช่วยเหลือไปยังพระเจ้าอ็อทโท พระเจ้าอ็อทโทตั้งเงื่อนไขให้พระสันตะปาปาตั้งเขาเป็นจักรพรรดิโรมัน ซึ่งก็เป็นอันตกลง ในที่สุด ค.ศ. 962 พระเจ้าอ็อทโทได้รับการสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมัน ดั่งเช่นที่ชาร์เลอมาญเคยกระทำเพื่ออ้างสิทธิ์การเป็นผู้สืบทอดของอาณาจักรโรมโบราณ อ็อทโทสามารถกำราบกษัตริย์เบเรนการ์ได้สำเร็จ

พระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ไม่พอใจที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอ็อทโทจึงวางแผนสมคบต่อต้านจักรพรรดิอ็อทโท ในปีค.ศ. 964 อ็อทโทบงการสภามุขนายกถอดถอนสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ออกจากตำแหน่ง ชาวโรมันเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 5 ขึ้นครองตำแหน่งแทน แต่จักรพรรดิอ็อทโทไม่ยอมรับและนำทัพเข้าปิดล้อมกรุงโรม ท้ายที่สุด กรุงโรมก็ยอมจำนน จักรพรรดิอ็อทโทแต่งตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 8 เป็นประมุขคริสตจักรองค์ใหม่ การกระทำครั้งนี้ได้สร้างความขัดแย้งกับจักรพรรดิไบแซนไทน์ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล

ในปีค.ศ. 996 จักรพรรดิอ็อทโทที่ 3 ทรงตั้งลูกพี่ลูกน้องของตนเองเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 5 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวเยอรมัน อย่างไรก็ตาม พวกขุนนางกรุงโรมมองว่าพระสันตะปาปาต่างด้าวและข้าราชบริพารต่างด้าวไม่มีความน่าไว้วางใจ จึงรวมตัวกันก่อกบฎและตั้งพระสันตะปาปาที่เป็นชาวกรีก แต่ไม่นานก็ถูกกองทัพของอ็อทโทที่ 3 เข้าควบคุมกรุงโรมไว้ได้

ระบบเลือกตั้งจักรพรรดิ

[แก้]
มงกุฎจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพระเจ้าอ็อทโทที่ 1 ทรงสวมในพิธีราชาภิเษกในค.ศ. 962

จักรพรรดิอ็อทโทที่ 3 สวรรคตในปีค.ศ. 1002 พระโอรสได้ขึ้นสืบราชสมบัติต่อเป็นจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 ซึ่งทรงมุ่งเน้นไปที่กิจการฝั่งเยอรมนีเป็นหลัก ต่อมาเมื่อไฮน์ริชที่ 2 สวรรคตในปีค.ศ. 1024 บัลลังก์จักรวรรดิก็ถูกสืบทอดโดยค็อนราทที่ 2 จักรพรรดิองค์แรกจากราชวงศ์ซาลีอัน ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยที่ประชุมเหล่าดยุกและขุนนาง ซึ่งคณะบุคคลเหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก

ในที่สุดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ประกอบด้วยสี่ราชอาณาจักร ได้แก่:

สภาพของจักรวรรดิ

[แก้]
อาณาเขตของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้นตั้งอยู่ในความไม่สงบของเหล่าขุนนางในแต่ละท้องที่ ที่พยายามจะแยกออกจากจักรวรรดิ เพื่อที่จะไปตั้งอำนาจของรัฐปกครองตนเองแบบฝรั่งเศสและอังกฤษ จักรพรรดิไม่มีอำนาจที่จะควบคุมท้องที่ที่มีเหล่าขุนนางปกครอง จักรพรรดิจึงอนุญาตให้เหล่าขุนนางและเหล่าบิชอปปกครองอย่างอิสระได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11

แว่นแคว้นในจักรวรรดิ

[แก้]

หลังการปฏิรูปจักรวรรดิ แว่นแคว้นที่อยู่ภายใต้พระบรมเดชานุภาพของจักรพรรดิแบ่งอย่างกว้างได้เป็นสามกลุ่ม:

ดินแดนทั้งหมดมีจำนวนมากถึง 300 รัฐ บางรัฐมีพื้นที่ไม่กี่ตารางไมล์เท่านั้น

สภาจักรวรรดิ

[แก้]
มาร์ติน ลูเทอร์ ปราศรัยต่อสภาไรชส์ทาค ที่เมืองว็อมส์ ค.ศ. 1521

ไรชส์ทาค (เยอรมัน: Reichstag) เป็นองค์กรนิติบัญญัติ มีหน้าที่ออกกฎหมาย และจัดการเลือกตั้ง แบ่งได้เป็น 3 สภาคือ:

  1. สภาเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก ประกอบด้วยเจ้าผู้ปกครองรัฐทั้ง 7 มีหน้าที่ลงมติรับรองจักรพรรดิองค์ใหม่
  2. สภาเครือราชรัฐ ประกอบด้วยผู้ปกครองรัฐที่มิได้มีตำแหน่งตามข้อ 1
  3. สภาของเครือเสรีนคร ประกอบด้วยผู้ปกครองเมืองที่มีสถานะเป็นเสรีนคร

ศาล

[แก้]

ศาลยุติธรรมมี 2 ประเภทได้แก่ ศาลหลวง (Reichshofrat) กับ ศาลคดีแห่งจักรวรรดิ (Reichskammergericht) ซึ่งก่อตั้งพร้อมกับการปฏิรูปจักรวรรดิเมื่อปี ค.ศ. 1495

เครือราชรัฐ

[แก้]

เครือราชรัฐ (Reichskreise)เกิดขึ้นหลังจากการปฏิรูปจักรวรรดิ ซึ่งเริ่มโดยการก่อตั้งเป็นหกเครือ ในปี ค.ศ. 1500 และต่อมาขยายเป็น 10 เครือในปี ค.ศ. 1512 แต่ละเครือมีหน้าที่ดูแลเฉพาะแคว้นที่อยู่ของแต่ละเครือ มีหน้าที่คล้ายรัฐบาลท้องถิ่น

ส่วนที่เหลือในปัจจุบัน

[แก้]

ในปัจจุบันนี้ยังมีรัฐที่เป็นส่วนที่เหลือของจักรวรรดิคือประเทศลิกเตนสไตน์ ซึ่งอยู่ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย

ในปัจจุบันยังมีผู้ที่มีสิทธิ์ครองบัลลังก์ตามเชื้อสายของจักรวรรดิ คือคาร์ล ฟ็อน ฮาพส์บวร์คแต่ตำแหน่งจักรพรรดินั้นได้ยกเลิกไปแล้ว

อาณาจักรที่สืบทอดอำนาจต่อ

[แก้]

หลังจากการสิ้นสุดสงครามนโปเลียน ไรชส์ทาคได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1815 และสิ้นสุดในปี 1866 เมื่ออาณาจักรปรัสเซียได้รวมชาติเยอรมันได้ในปี 1871

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. von Aretin, Karl Otmar Freiherr (31 December 1983). "Das Reich ohne Hauptstadt? Die Multizentralitat der Hauptstadtfunktionen im Reich bis 1806". Hauptstädte in europäischen Nationalstaaten: 5–14. doi:10.1515/9783486992878-003.
  2. Norman F. Cantor (1993), Civilization of the Middle Ages, pp. 212–215
  3. Bamber Gascoigne. "History of the Holy Roman Empire". HistoryWorld.
  4. Peter Hamish Wilson, The Holy Roman Empire, 1495–1806, MacMillan Press 1999, London, p. 2.
  5. 5.0 5.1 Whaley 2011, p. 17
  6. Peter Moraw, Heiliges Reich, in: Lexikon des Mittelalters, Munich & Zürich: Artemis 1977–1999, vol. 4, col. 2025–2028.
  7. Peter Hamish Wilson, The Holy Roman Empire, 1495–1806, MacMillan Press 1999, London, page 2; The Holy Roman Empire of the German Nation at the Embassy of the Federal Republic of Germany in London website เก็บถาวร 29 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. "History of The Holy Roman Empire". historyworld. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  9. Whaley 2011, pp. 19–20.
  10. Matthew Innes, State and Society in the Early Middle Ages: The Middle Rhine Valley, 400–1000 (Cambridge, 2004), pp. 167–70.
  11. Rosamond McKitterick, The Frankish Kingdoms under the Carolingians, 751–987 (1983), pp. 48–50.  – โดยทาง Questia (ต้องรับบริการ)
  12. Encyclopædia Britannica, France/Pippin III
  13. Bryce (1913), pp.38-42
  14. Johnson (1996), p. 22.
  15. George C. Kohn, Dictionary of Wars (2007), pp. 113–14.
  16. Bryce (1913), pp.44, 50-52
  17. Paul Collins, The Birth of the West: Rome, Germany, France, and the Creation of Europe in the Tenth Century (New York, 2013), p.131.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Arnold, Benjamin, Princes and Territories in Medieval Germany. (Cambridge University Press, 1991).
  • Bryce, James, The Holy Roman Empire (The MacMillan Company, 1913).
  • Coy, Jason Phillip et al. The Holy Roman Empire, Reconsidered, (Berghahn Books, 2010).
  • Davies, Norman, A History of Europe (Oxford, 1996)
  • Donaldson, George. Germany: A Complete History (Gotham Books, New York, 1985)
  • Evans, R. J. W., and Peter H. Wilson, eds. The Holy Roman Empire 1495–1806 (2011); specialized topical essays by scholars
  • Hahn, Hans Joachim. German thought and culture: From the Holy Roman Empire to the present day (Manchester UP, 1995).
  • Heer, Friedrich. Holy Roman Empire (2002), scholarly survey
  • Hoyt, Robert S. and Chodorow, Stanley, Europe in the Middle Ages (New York: Harcourt Brace Jovanovich, 1976)
  • Renna, Thomas. "The Holy Roman Empire was Neither Holy, Nor Roman, Nor an Empire" Michigan Academician 42.1 (2015): 60-75 deals with Voltaire's statement
  • Scribner, Bob. Germany: A New Social and Economic History, Vol. 1: 1450–1630 (1995)
  • Treasure, Geoffrey. The Making of Modern Europe, 1648–1780 (3rd ed. 2003). pp 374-426.
  • Whaley, Joachim. Germany and the Holy Roman Empire, Volumes 1 and 2, (Oxford UP, 2012)
  • Wilson, Peter H. Heart of Europe: A History of the Holy Roman Empire (2016), long scholarly interpretive history
  • Wilson, Peter H. The Holy Roman Empire 1495–1806 (2011), 156 pages; short summary by scholar
  • Zophy, Jonathan W. ed., The Holy Roman Empire: A Dictionary Handbook (Greenwood Press, 1980)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แผนที่

[แก้]