เมืองไทยประกันชีวิต

เมืองไทยประกันชีวิต เป็นบริษัทให้บริการด้านการประกันชีวิต ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2494 โดยเป็นบริษัทแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้แต่งตั้งเป็นบริษัทประกันชีวิตในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2502 [1]

เมืองไทยประกันชีวิต
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
อุตสาหกรรมประกันชีวิต Edit this on Wikidata
ก่อตั้ง6 เมษายน พ.ศ. 2494
ผู้ก่อตั้งจุรินทร์ ล่ำซำ
สำนักงานใหญ่250 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310, ,
พื้นที่ให้บริการประเทศไทย
บุคลากรหลักโพธิพงษ์ ล่ำซำ (ประธานกรรมการ)
สาระ ล่ำซำ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
ดร.สุธี โมกขะเวส (กรรมการผู้จัดการ)
บริการการประกันชีวิต
เว็บไซต์https://www.muangthai.co.th

บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เริ่มกิจการอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ สำนักงาน แห่งแรกที่ถนนเสือป่า ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยต้องประสบปัญหาจากผลกระทบของสงครามมหาเอเซียบูรพา เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระยะการฟื้นตัว นายจุลินทร์ ล่ำซำ ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการในขณะนั้น และกลุ่มเพื่อนนักธุรกิจ ตลอดจนผู้ใหญ่ในวงราชการ ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ขึ้น

บริษัทฯ ได้สร้างอาคารเมืองไทยประกันชีวิต สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ ณ ถนนเจริญกรุง เมื่อปี 2494[2] แต่เดิมบริษัทเมืองไทยประกันภัยเคยเป็นฝ่ายหนึ่งในบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต แต่เมื่อมีกฎหมายห้าม มิให้บริษัทประกันชีวิตทำธุรกิจประกันวินาศภัยแยกออกมาเป็นบริษัทเมืองไทยประกันภัย เมื่อ พ.ศ. 2541[3]

รางวัล

แก้
ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[4] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจประกันภัย (ประกันวินาศภัยและประกันชีวิต) ชนะ

อ้างอิง

แก้
  1. แจ้งความสำนักพระราชวัง ที่ ๑๑/๒๕๐๒ เรื่อง พระราชทานตราตั้งแก่บริษัทเมืองไทยประกันชีวิตจำกัด
  2. ""ล่ำซำ" ยึดธุรกิจประกัน เส้นทาง80ปีจาก "กวางอันหลง"". ผู้จัดการออนไลน์.
  3. "ธุรกิจประกันของตระกูล "ล่ำซำ" ในมือของ นวลพรรณ และ สาระ ล่ำซำ". marketeeronline.
  4. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้