ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. (อังกฤษ: Ngor Royal Cup) เป็นฟุตบอลฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานระดับชั้นที่ 4 ของประเทศไทย โดยจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2505 พร้อมกับ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. โดยเป็นการจัดการแข่งขันที่มีลักษณะเป็นขั้นๆ ตามแบบฟุตบอลลีกของประเทศอังกฤษในขณะนั้น โดย สโมสรรถไฟ และ สโมสรพลานามัย ได้ตำแหน่งชนะเลิศในรายการนี้ร่วมกันเป็นสโมสรแรก

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.
ก่อตั้ง2505
ยุติ2558
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
ระดับในพีระมิด4 (2505-2538)
5 (2539-2549)
6 (2550-2558)
เลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค.
ทีมชนะเลิศสุดท้ายวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล (สมัยที่ 1)
(2558)
ชนะเลิศมากที่สุดทหารอากาศ
(7 สมัย)

ต่อมาเมื่อมีการ จัดการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก ในปี 2539 และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี 2540 ทำให้ระดับชั้นของการแข่งขันถอยลงเป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับกึ่งสมัครเล่น

ต่อมาในปี 2559 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการปรับปรุงการแข่งขันระดับสโมสร จึงได้มีการยุบรวมฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[1] ประกอบกับทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง

ประวัติ

แก้

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีดำริ ที่จะต้องการพัฒนาการแข่งขันฟุตบอลสโมสร ในขณะนั้น จากเดิมที่มีเพียง ฟุตบอลถ้วยใหญ่ และ ฟุตบอลถ้วยน้อย ให้เป็นระบบดิวิชั่น เหมือนประเทศอังกฤษ โดย พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค นายกสมาคมฯ ในขณะนั้น ได้ทำหนังสือถึง สำนักราชเลขาธิการ ขอพระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับสโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขันเพิ่มเติม

ต่อมา ในปี 2505 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัล ก็คือ ถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ถ้วยพระราชทานประเภท ง.[2] ทำให้การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรของไทยในขณะนั้น เพิ่มเป็น 4 ระดับขั้น และ เกิดการเปลื่ยนชื่อ การแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่เป็น ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ถ้วยน้อยเป็น ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ข. โดยได้มีการเริ่มต้นการแข่งขัน ในการแข่งขันประจำปี 2505

รายนามสโมสรชนะเลิศ

แก้

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. (2505-2538)

แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. (2505-2538) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสี่ของประเทศ[3]

ครั้งที่ ประจำปี สโมสรชนะเลิศ
1 2505 สโมสรรถไฟ - สโมสรพลานามัย (ชนะเลิศร่วมกัน)
2 2506 สโมสรพลานามัย
3 2507 สโมสรทหารบก
4 2508 สโมสรทหารอากาศ - สโมสรรถไฟ (ชนะเลิศร่วมกัน)
5 2509 สโมสรทหารอากาศ
6 2510 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
7 2511 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
8 2512 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
9 2513 สโมสรธนาคารกรุงเทพ
10 2514 สโมสรธนาคารกรุงเทพ - สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ชนะเลิศร่วมกัน)
11 2515 โรงเรียนการชลประทาน
12 2516 สโมสรทหารอากาศ - โรงเรียนจ่าอากาศ (ชนะเลิศร่วมกัน)
13 2517 ราชนาวีสโมสร
14 2518 ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
15 2519 สโมสรธนาคารกรุงเทพ
16 2521 สโมสรจังหวัดตราด
17 2522 วิทยาลัยครูนครปฐม
18 2523 ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ - สโมสรบุญรอดบริวเวอรี่ (ชนะเลิศร่วมกัน)
19 2524 ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
20 2525 วิทยาลัยครูนครปฐม
21 2526 สโมสรมูลนิธิไวยโภคี
22 2527 สโมสรทหารอากาศ
23 2528 สโมสรสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7
24 2529 สโมสรทหารอากาศ
25 2530 สโมสรทหารบก
26 2531 สโมสรทหารอากาศ
27 2532 สโมสรทหารบก
28 2533 สโมสรธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ
29 2534 สโมสรทหารบก
30 2535 สโมสรพนักงานยาสูบ
31 2536 สโมสรทหารบก
32 2537 สโมสรธนาคารทหารไทย
33 2538 สโมสรธนาคารสหธนาคาร

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. (2539-2547)

แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. (2539-2547) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับห้าของประเทศ[3]

ครั้งที่ ประจำปี สโมสรชนะเลิศ
34 2539 โรงเรียนจ่าอากาศ
35 2540 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
36 2541 สโมสรศุลกากร
37 2542 กรมสวัสดิการทหารบก
38 2543 วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี
39 2544 สถาบันราชภัฎเทพสตรีลพบุรี
40 2545 สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง
41 2546 สโมสรการบินไทย
42 2547 สมาคมสโมสรดอนเมืองสัมพันธ์

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. (2548-2558)

แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. (2548-2558) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับหกของประเทศ[3]

 
ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ทีมแชมป์ถ้วย ง. ทีมสุดท้ายในปี 2558
ครั้งที่ ประจำปี สโมสรชนะเลิศ
43 2548/49 โรงเรียนบ้านทุ่งเค็ด
44 2550/51 เทศบาลเมืองคูคต
45 2552 มหาวิทยาลัยเกริก
47 2553 สโมสรทองหล่อ เอฟซี
48 2554 เทศบาลตำบลเกาะขวาง
49 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
50 2556 สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
52 2557 สมาคมศิษย์เก่า โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครปฐม
53 2558 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/41244 “ทนายอ๊อด” เตรียมยื่นร้อง กกท. หลังส.บอลจัด ดี3 - PPTV 36
  2. https://www.facebook.com/pg/siamfootball/photos/?tab=album&album_id=1362915307091583 ถ้วยพระราชทาน ง - SiamFootball
  3. 3.0 3.1 3.2 http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=64633.15;wap2 เก็บถาวร 2021-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ทำเนียบแชมป์ถ้วยพระราชทานประเภท ง - ไทยแลนด์สู้ๆ

ดูเพิ่ม

แก้