ทรูวิชั่นส์

ผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกรายใหญ่ของประเทศไทย


ทรูวิชั่นส์ (อังกฤษ: TrueVisions) หรือเดิมชื่อ ยูบีซี (UBC) เป็นสถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] บริหารงานโดย บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ในเครือทรู คอร์ปอเรชัน ปัจจุบันมี สุภกิต เจียรวนนท์ เป็นประธานคณะกรรมการบริษัท/กรรมการบริหาร และอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา เป็นกรรมการผู้จัดการ[1]

บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
True Visions Public Company Limited
ชื่อเดิมไอบีซีและยูทีวี(2532-2541)
ยูบีซี(2541-2549)
ยูบีซี-ทรู(2549-2550)
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
อุตสาหกรรมกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกในประเทศไทย
ก่อตั้ง17 เมษายน พ.ศ. 2532 (35 ปี)
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (26 ปี)
23 มกราคม พ.ศ. 2550 (17 ปี)
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บุคลากรหลักอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา (กรรมการผู้จัดการ)
สุภกิต เจียรวนนท์ (ประธาน)
ศุภชัย เจียรวนนท์(ผู้บริหาร)
ผลิตภัณฑ์กิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกในประเทศไทย
บริษัทแม่เครือเจริญโภคภัณฑ์
บริษัทในเครือทรู คอร์ปอเรชั่น
เว็บไซต์truevisions.co.th

ประวัติ

แก้

ไอบีซีและยูทีวี

แก้

ทรูวิชันส์ เดิมนั้นมีชื่อว่า ยูบีซี เกิดจากการรวมกิจการของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี 2 รายใหญ่ในประเทศไทยในขณะนั้นที่ทำสัญญาเข้ารับสัมปทานธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกจากกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) คือไอบีซี และยูทีวี ทรูวิชั่นส์ยุค IBC และ UTV ออกอากาศทางดาวเทียมไม่ทราบชื่อ(ปัจจุบันใช้ไทยคมแล้ว) สักคราวเมื่อ 2532-ต้นปี 2537 ต่อมาย้ายดาวเทียม ไทยคม 1 แล้วก็ย้ายต่อมาไทยคม 2 ต่อมาก็ย้าย 2/3 แล้วก็ย้าย 2/5 แล้วก็ย้ายมาดาวเทียมไทยคม 5 แล้วก็ย้ายมา 5/6 แล้วก็ย้ายมา 5/6/8 แล้วก็ย้ายมา 6/8

ไอบีซี

แก้

ยูทีวี

แก้

การรวมกิจการเป็นยูบีซี

แก้

เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ไอบีซีและยูทีวีต้องหาทางอยู่รอด โดยการควบรวมกิจการเพื่อลดค่าใช้จ่าย[2] โดยสามารถใช้ทรัพยากรของบริษัทในเครือได้อย่างเต็มที่ คือทั้งระบบสัญญาณผ่านดาวเทียมไทยคม และบริการเอ็มเอ็มดีเอสผ่านระบบไมโครเวฟ ของกลุ่มชินวัตร (ในนาม บมจ.ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ปัจจุบันเป็น บมจ.ทรูวิชั่นส์)) (แต่ภายหลังออกอากาศด้วยระบบดังกล่าวเพียง 2 ช่องคือ นิวส์ 24 และช็อปปิงแอตโฮม ซึ่งสามารถรับชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) และระบบเคเบิลใยแก้วนำแสง กับโคแอกเชียล ของกลุ่มเทเลคอมเอเชีย (ในนามบมจ. ยูบีซี เคเบิล เน็ตเวอร์ก (ปัจจุบันเป็น บมจ.ทรูวิชั่นส์ เคเบิล))

โดยในราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไอบีซีเป็นฝ่ายซื้อกิจการยูทีวี โดยวิธีการแลกหุ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติง คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) (ยูบีซี) และออกอากาศด้วยชื่อยูบีซีอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และใช้สัญญาสัมปทานที่ อ.ส.ม.ท. ต่อให้กับไอบีซี และได้ขยายระยะเวลาสัมปทานไปอีก 5 ปี ไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 โดยในยุคแรก ออกอากาศผ่านดาวเทียมไทยคม 1 (แต่ปัจจุบันใช้ดาวเทียมไทยคม 6/8) แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มชินวัตรก็ขายหุ้นยูบีซีทั้งหมด ให้กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทแม่ของเทเลคอมเอเชีย และจดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อว่า UBC

จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 กลุ่มเอ็มไอเอช ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มทรู รวมเป็นหุ้นร้อยละ 98 ทำให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงยุติการซื้อขายหลักทรัพย์ของยูบีซี โดยกลุ่มทรูฯ ประกาศซื้อหุ้นยูบีซีจากผู้ถือหุ้นรายย่อย เมื่อวันที่ 9 มกราคม แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูบีซี-ทรู จำกัด (มหาชน) รวมถึงเครื่องหมายการค้าใหม่คือ ยูบีซี-ทรู ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2550 ยูบีซีเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเป็น บริษัท ทรูวิชั่นส์-ยูบีซี จำกัด (มหาชน) รวมถึงเครื่องหมายการค้าใหม่คือ ทรูวิชั่นส์-ยูบีซี ต่อมาลดลงเหลือเพียง บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ตามยุทธศาสตร์หลอมรวม (Convergence) ธุรกิจในกลุ่มทรูฯ ต่อมาได้เพิ่ม บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเข้ารับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก ประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่ จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และให้บริการภายใต้ชื่อบริษัทนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ผู้นำด้านโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกในประเทศไทย

แก้

ปัจจุบัน ทรูวิชั่นส์เป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกชั้นนำและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งได้ให้บริการทั้งระบบจานดาวเทียมและเคเบิล มีจำนวนสมาชิกถึง 1,179,196 ราย[3] (ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกกว่า 1,400,000 ราย ตามข้อมูลผลประกอบการกลุ่มทรู ไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2566)[1] ปัจจุบันทรูวิชั่นส์ให้บริการทั้งในรูปแบบของช่องรายการ และเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอสตรีมมิ่ง ซึ่งทรูวิชั่นส์ได้รับสิทธิ์ในการเผยแพร่ทั้งผ่านช่องรายการจากต่างประเทศ และเนื้อหาที่ทรูถือลิขสิทธิ์เอง โดยมีแพ็คเกจให้เลือก 7 แพ็คเกจหลัก (ผู้ใช้งานทั่วไป), แพ็กเกจตามสั่ง (แพ็กเสริม) 7 แพ็กเกจ, แพ็กเกจสำหรับผู้ประกอบการพาณิชย์ 2 แพ็กเกจ รวมทั้ง TrueVisions NOW (สำหรับใช้ในแพลทฟอร์ม TrueID) ด้วยจำนวนช่องที่ให้บริการสูงสุดกว่า 90 ช่อง[4] และยังมีการให้บริการ PVR หรือ Personal Video Recorder ที่ให้สมาชิกบันทึกรายการโปรดได้ และ 7 Days Catch-Up ที่สามารถเรียกดูรายการย้อนหลังตามผังรายการช่องต่างๆ ได้มากที่สุดถึง 7 วัน ผ่านแพลทฟอร์มทรูไอดี โดยการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต

การให้มีโฆษณา

แก้

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในขณะนั้น ร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตให้ทรูวิชันส์สามารถมีโฆษณาได้ชั่วโมงละ 6 นาที[5] ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยตกลงจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายกรณีที่กลุ่มทรูวิชันส์ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และค่าปรับอื่น ๆ รวมเป็นเงินกว่า 110 ล้านบาท และตกลงที่จะแบ่งรายได้ค่าโฆษณาให้ บมจ.อสมท ร้อยละ 6.5 จากรายได้ค่าโฆษณาทั้งหมด

ระบบภาพ HD

แก้

ทรูวิชันส์ได้ทำการทดสอบการออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูง (ระบบเอชดี, HD) ที่ภาพมีความคมชัดมากกว่าปกติถึง 5 เท่า ระบบเสียงจะเป็นระบบเสียงดิจิทัลรอบทิศทางของดอลบี โดยออกอากาศครั้งแรกในงาน Bangkok ICT Expo 2007 ที่เมืองทองธานี[6]

ปัจจุบัน ได้แพร่ภาพระบบ HD แล้ว 65 ช่องในระบบเคเบิลใยแก้ว ด้วยการส่งสัญญาณภาพที่ความคมชัด 1080i โดยสามารถรับชมได้ทุกแพ็กเกจที่มีช่องระบบ HD-อุปกรณ์รับสัญญาณระบบ HD (MPEG4) พร้อมรองรับระบบเสียงรอบทิศทาง Dolby Digital Plus 59 ช่อง ผ่านช่องสัญญาณเสียงที่ 3 (DD+) เมื่อต่อกับโทรทัศน์-อุปกรณ์ลำโพงที่รองรับ

ระบบภาพ 4K

แก้

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ทรูวิชั่นส์ได้เพิ่มระบบการส่งสัญญาณภาพแบบใหม่ คือระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่ง (4K หรือ Ultra HD) ที่มีความคมชัดสูงกว่า HD ถึง 4 เท่า และคมชัดกว่าระบบปกติถึง 20 เท่า ทำให้ได้ภาพและรายละเอียดที่สมจริงในทุกอณู โดยเริ่มต้นส่งสัญญาณช่องรายการฟุตบอลโลก 2018 เป็นช่องแรกที่ช่องหมายเลข 400 ปัจจุบันส่งสัญญาณออกอากาศช่อง 4K เฉพาะในระบบเคเบิ้ลใยแก้วเท่านั้น ผ่านเครื่องรับสัญญาณที่รองรับระบบ 4K

TrueID TV Inno Hybrid

แก้

ทรูวิชั่นส์ได้ผลิตและให้บริการเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์รูปแบบใหม่ ลูกผสมระหว่างระบบเคเบิ้ล-อินเทอร์เน็ตทีวีระบบปฏิบัติการ Android TV ภายใต้ชื่อ ทรูไอดีทีวี อินโนไฮบริด (TrueID TV Inno Hybrid) สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ทั้งช่องรายการจากทรูวิชั่นส์-วิดีโอสตรีมมิ่งทรูไอดีในเครื่องเดียวกัน รองรับช่องรายการและการแสดงภาพความคมชัดสูงสุด 4K + HDR รวมทั้งเข้าถึงแอพสตรีมมิ่งต่างๆ มีระบบ Chromecast Built-In, สั่งการอุปกรณ์ได้ผ่าน Google Assistant และดาวน์โหลดแอพเพิ่มเติมจาก Google Play Store ได้ ให้บริการในแพ็กเกจทรูวิชั่นส์ที่มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของทรูออนไลน์ และสามารถแจ้งขอเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์รับสัญญาณตัวนี้ได้ฟรีเมื่อเป็นสมาชิกแพ็กเกจแพลทินัมหรือโกลด์ (ชื่อเดิม Inno Hybrid Plus)

ทรูวิชั่นส์ นาว

แก้

กลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ทรูวิชั่นส์ เริ่มก้าวสู่ตลาดสตรีมมิ่ง โดยการเปิดตัวแพ็กเกจ ทรูวิชั่นส์ นาว (TrueVisions NOW) ซึ่งเป็นบริการสตรีมมิ่งช่องรายการทรูวิชั่นส์ สามารถสมัครและรับชมได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ ทุกเครือข่ายมือถือและอินเทอร์เน็ตผ่านแพลทฟอร์ม TrueID สตรีมช่องและเนื้อหา Video On Demand ได้พร้อมกัน 2-4 อุปกรณ์ สามารถยกเลิกบริการได้ทุกเมื่อเท่าที่ต้องการ ไม่มีสัญญาผูกมัด[7]

การแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

แก้

ในช่วงที่ผ่านมาทรูวิชั่นส์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นมานาน 23 ปีได้ หรือการแอบลักลอบรับชมรายการของทรูวิชันส์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ไม่ได้มาจากทรูวิชันส์ (เช่น กล่องดรีมบ็อกซ์) ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นยูบีซีได้ ในที่สุด ทรูวิชันส์จึงตัดสินใจเพิ่มมาตรการการควบคุมระบบการออกอากาศใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณภาพจากเดิมที่เป็น MPEG-2 มาเป็น MPEG4 แบบเข้ารหัส Videoguard ในคืนวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งกระทบต่อสมาชิกในกลุ่มแพลตตินั่ม เอชดี, โกลด์, โกลด์ไลท์ และซิลเวอร์ โดยตรง โดยผู้ใช้ในกลุ่มนี้จะต้องแจ้งขอเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณภาพมาเป็นรูปแบบใหม่ หรือ TrueVisions HD Plus เพื่อที่จะสามารถรับชมช่องรายการได้ครบตามปกติโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากเดิมที่ต้องเสียค่าเปลี่ยนอุปกรณ์ 1,000 บาท ส่วนผู้ใช้ในกลุ่มทรูโนว์เลดจ์ ทรูไลฟ์ ฟรีวิว และทรูไลฟ์ ฟรีทูแอร์ ยังคงสามารถรับชมช่องรายการได้ตามปกติ โดยไม่ต้องแจ้งขอเปลี่ยนกล่องสัญญาณ (ปัจจุบันยุติออกอากาศในระบบ MPEG-2 แล้ว)

การแก้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์

แก้

ทรูวิชั่นส์ได้พยายามหาแนวทางในการแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่องทางระบบอินเทอร์เน็ต โดยร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึง กสทช. และภาคเอกชน จนสามารถขยายผลจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมเดินหน้าปิดกั้นการเข้าถึงเว็ปไซต์ไปแล้วหลายเว็บ[7]

การเข้าร่วมเป็น 1 ในพันธมิตรต่อต้านและปราบปรามละเมิดลิขสิทธิ์กับแพลทฟอร์มและผู้ผลิตเนื้อหาต่างๆ จากทั่วโลก

แก้

กลางปี 2565 ทรูวิชั่นส์ได้เข้าร่วมเป็น 1 ในสมาชิกกลุ่ม Alliance for Creativity and Entertainment (พันธมิตรเพื่อความคิดสร้างสรรค์และความบันเทิง) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยสมาคมภาพยนตร์ (MPA) และบรรดาบริษัทผู้ผลิตสื่อ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ และผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่งรายใหญ่จากทั่วโลก ทำหน้าที่ปกป้องและปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์เนื้อหาในออนไลน์ นับเป็นบริษัทธุรกิจสื่อรายแรกในประเทศไทยที่เข้ามาเป็นแนวร่วมกับ ACE จากการขยายฐานการทำงานไปยังภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค[2]

การอัพเกรดซอฟแวร์เวอร์ชัน

แก้

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทรูวิชันส์ผ่านกล่องรับสัญญาณ TrueVisions HD Plus เวอร์ชันใหม่ New TrueVisions โฉมใหม่ของการดูทีวี” เชื่อมโลกดิจิตอลสู่ประสบการณ์การรับชมทีวีที่ดีที่สุด เปลี่ยนสู่โลกใหม่ของการชมทีวีที่ดีที่สุด สัมผัสความบันเทิงรูปแบบใหม่ได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยได้ดำเนินการในคืนวันที่ 7 กรกฎาคม 2559

รูปแบบการให้บริการ

แก้

ในปัจจุบัน ทรูวิชั่นส์ให้บริการเนื้อหาบอกรับสมาชิก 2 รูปแบบ คือ ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ และวิดีโอสตรีมมิ่งที่สามารถรับชมเนื้อหารายการเป็นเรื่อง-ชุดได้ตลอดเวลา

ช่องรายการโทรทัศน์

แก้

ให้บริการเนื้อหาผ่านช่องรายการต่างๆ ทั้งที่ทรูวิชั่นส์ผลิตเองและได้รับลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตเนื้อหาต่างๆ ทั่วโลก และช่องรายการจากต่างประเทศ ตามหมวดหมู่ต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์, ละครซีรีส์, รายการบันเทิง, การ์ตูน, สารคดี, รายการกีฬา และรายการข่าว ซึ่งแพร่ภาพออกอากาศสดผ่านทั้ง 3 ช่องทาง โดยให้บริการผ่านแพ็กเกจหลักและแพ็กเกจตามสั่ง ดังนี้

  • ระบบจานรับสัญญาณดาวเทียม (DSTV) ส่งสัญญาณออกอากาศและให้บริการผ่านดาวเทียมไทยคม 8 ด้วยจานรับสัญญาณแบบทึบ (KU-Band) เชื่อมกับอุปกรณ์รับและถอดรหัสสัญญาณดาวเทียม (Integrated Receiver Decoder; IRD)
  • ระบบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง (CATV) ส่งสัญญาณออกอากาศและให้บริการผ่านสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) เชื่อมกับอุปกรณ์เครื่องรับสัญญาณระบบเคเบิ้ล (Set-Top-Box; STB) และเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์แบบลูกผสมระบบเคเบิ้ล-อินเทอร์เน็ต ภายใต้ชื่อการค้า TrueID TV Inno Hybrid ซึ่งจะให้จำนวนช่องรายการที่มากกว่า และให้จำนวนช่องรายการบางส่วนที่มีความคมชัดระดับ Full HD เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งรองรับการให้บริการช่องรายการในระบบ 4K Ultra HD อีกด้วย (หากใช้เครื่องรับสัญญาณที่รองรับระบบ 4K กับโทรทัศน์ที่รองรับการแสดงผลภาพแบบ 4K)
  • ระบบสตรีมมิ่ง ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์จากทรูวิชั่นส์และให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในแพลทฟอร์ม ทรูไอดี (TrueID) ทั้งในแอพพลิเคชั่น (สำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต), เว็บเบราวเซอร์ และเครื่องรับสัญญาณระบบ IPTV ภายใต้ชื่อการค้า ทรูไอดี ทีวี (TrueID TV) ซึ่งสามารถรับชมได้เมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น

อนึ่ง แพลทฟอร์ม TrueID (รวมถึง TrueID TV) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด แต่มีการวางจำหน่ายแพ็กเกจช่อง-เนื้อหารายการของ บจก.ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป ให้แก่ผู้ใช้งานในแพลทฟอร์มดังกล่าวด้วย ภายใต้ชื่อการค้า ทรูวิชั่นส์ นาว (TrueVisions NOW) นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา

วิดีโอสตรีมมิ่ง

แก้

ให้บริการเนื้อหารายการของทรูวิชั่นส์ในรูปแบบ Video On Demand ภายใต้ชื่อ ทรูวิชั่นส์ นาว (TrueVisions NOW) โดยเผยแพร่เนื้อหารายการต่างๆ จากช่องต่างประเทศบางช่อง และเนื้อหารายการที่ทรูวิชั่นส์ถือลิขสิทธิ์เอง ทั้งภาพยนตร์ ละครซีรีส์ รายการบันเทิง รายการสำหรับเด็ก สารคดี และกีฬา เป็นต้น ผ่านทางแพลทฟอร์มทรูไอดี ในทุกช่องทาง

ซึ่งผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ในหมวดหมู่นี้ได้โดยการเชื่อมต่อบริการทรูวิชั่นส์ (ด้วยหมายเลขรหัสสมาร์ทการ์ด) หรือสมัครแพ็กเกจ ทรูวิชั่นส์ นาว เข้ากับบัญชีผู้ใช้ ทรูไอดี นั้นๆ โดยจะปลดล็อกเนื้อหาให้ตามแพ็กเกจที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ (รวมถึงแพ็กเกจตามสั่งด้วย) โดยที่ในแต่ละเนื้อหาจากแต่ละช่องจะเผยแพร่ก่อน-หลัง-ระหว่างออกอากาศอยู่ทางโทรทัศน์ก็ได้ (ถ้าเป็นเนื้อหาจากช่องต่างประเทศ ก็จะเผยแพร่หลังจากออกอากาศทางโทรทัศน์ไปแล้ว) และมีอายุการให้บริการสตรีมเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้จะปลดล็อกพร้อมกับช่องรายการตามแพ็กเกจที่สมัคร/เชื่อมต่อสมาร์ทการ์ดไว้ด้วย

ปัจจุบันมีช่องรายการจากต่างประเทศที่ให้บริการเนื้อหาสตรีมมิ่งในช่องทางดังกล่าวนี้ถึง 23 ช่อง ได้แก่ Arirang TV, DW English, Asian Food Network, Nick JR., Dreamworks, Cartoon Network, Discovery Asia, Crime+ Investigation, Discovery Channel, TLC, Animal Planet, beIN SPORTS 1-10 SPOTV 1-2 CGTN, NHK World Japan, RT News, CNN, Phoenix InfoNews Channel, TV5Monde Asie, Al Jazeera English, และ ABC Australia, ควบคู่ไปกับการออกอากาศผ่านช่องทางโทรทัศน์ (อ้างอิงจากภายในแอปพลิเคชั่นทรูไอดี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567)

เหตุการณ์ทรูวิชั่นส์หลังออกอากาศจริง

แก้
  • 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ออกคำสั่งฉบับที่ 7/2557 ให้ระงับการออกอากาศวอยซ์ทีวี อันเนื่องมาจากเนื้อหาพาดพิงการเมืองที่มีนัยสำคัญ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ ที่มีคำสั่งระงับการออกอากาศ โทรทัศน์ประเภทธุรกิจระดับชาติ นอกจากกรณีรัฐประหาร
  • 22 พฤษภาคม - เวลา 16:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
    • เวลา 19.00 น. คสช. ออกประกาศฉบับที่ 4/2557 บังคับให้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทั้งหมด ยุติการออกรายการตามปกติ โดยให้ถ่ายทอดสัญญาณ จากสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก ในกรณีของวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในกรณีวิทยุโทรทัศน์และผ่านดาวเทียม จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
  • 23 พฤษภาคม - คสช. ประกาศเรียกผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมด เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือ และรับฟังคำชี้แจงแนวทาง ในการกลับมาออกอากาศ โทรทัศน์ระบบดิจิทัลตามปกติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม เวลา 09:00 น.
  • 24 พฤษภาคม - คสช. ยกเว้นประกาศฉบับที่ 14/2557 และ 18/2557 แก่ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมดโดยอนุโลม จึงสามารถกลับมาออกอากาศตามปกติอีกครั้ง ยกเว้นวอยซ์ทีวี ที่ยังคงให้ระงับการออกอากาศ ตามประกาศฉบับที่ 15/2557 ต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากมีรายการวิเคราะห์การเมือง ที่มีการเชิญนักวิชาการ อนึ่ง ทุกช่องจะแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนด ไว้ที่หน้าจอมุมบนทางขวามือของผู้ชม เพื่อเป็นเครื่องยืนยันการอนุโลมให้ออกอากาศ หลังจากที่ คสช.กระทำรัฐประหาร หลังจาก กสทช. กิจการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกสถานีรวมถึงทรูวิชั่นส์งดออกอากาศ (ยกเว้นช่องข่าวต่างประเทศ 14 ช่องในขณะนั้น ที่ยังคงต้องระงับการแพร่สัญญาณชั่วคราว เนื่องจากทรูวิชั่นส์เห็นว่าไม่สามารถควบคุมเนื้อหาข่าวให้อยู่ภายใต้คำสั่ง คสช. ได้เลยแม้แต่นิดเดียว[8])
  • วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 19.00 น. ทางสถานีได้มีการแถลงสำนักพระราชวังเรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสวรรคต กสทช. กิจการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกสถานีรวมถึงทรูวิชั่นส์งดออกอากาศรายการตามปกติเป็นระยะเวลา 30 วัน

เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสวรรคต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องระงับการออกอากาศรายการตามผังรายการปกติเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อเป็นการไว้อาลัย

  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - พ.อ.นที กล่าวอีกว่า จากการหารือกับผู้ประกอบการจะปรับเข้าสู่ผังรายการปกติภายหลังจากที่ทรงเสด็จสวรรคตครบ 30 วัน โดยจะต้องทยอยปรับเข้ารายการปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเบื้องต้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 18 พ.ย.นี้[9] รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 3 พ.ย. 2559 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้เชิญผู้ประกอบการโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เข้ามารับฟังการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติในการออกอากาศรายการ

โดยพันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจา ยเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 37/2559 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2559 ได้พิจารณาเรื่อง แนวทางปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และผู้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการกระจายเสียง ภายหลัง 30 วัน ดังต่อไปนี้ 2. การออกอากาศรายการของสถานี ให้นำเอารายการปกติ มาออกอากาศได้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมของรายการ เพื่อเป็นการปรับบรรยากาศและความรู้สึกของประชาชนให้เป็นไปตามลำดับ จึงเห็นควรกำหนดระดับความเหมาะสมของรายการที่ จะนำมาออกอากาศในแต่ละห้วงเวลา ดังนี้ กรณีช่องChic Channel งดออกอากาศ และ ช่องTrue Explore Life รายการสารคดี ในดวงใจนิรันดร์ แทน

2.1 ระหว่างวันที่ 13-18 พ.ย. 2559 ให้สามารถนำเอารายการที่มีระดับความเหมาะสมสำหรับปฐมวัย (ป) สำหรับเด็ก (ด) รายการทั่วไป (ท) และสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป (น13) มาออกอากาศได้ โดยรายการทั่วไป (ท) และรายการที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป (น13) ไม่ควรมีเนื้อหาที่มีลักษณะตลก เฮฮา ความรุนแรง เรื่องทางเพศ การใช้ถ้อยคำหยาบคาย

2.2 ระหว่างวันที่ 19 พ.ย. 2559 ถึงวันที่ 21 ม.ค. 2560 ให้สามารถนำเอารายการที่มีระดับความเหมาะสมสำหรับปฐมวัย (ป) สำหรับเด็ก (ด) รายการทั่วไป (ท) สำหรับผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป (น13) สำหรับผู้ชมที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (น18) มาออกอากาศได้ โดยรายการทั่วไป (ท) รายการที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป (น13) และรายการที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (น18) ไม่ควรมีเนื้อหาที่มีความรุนแรง เรื่องทางเพศ การใช้ถ้อยคำหยาบคาย ทั้งนี้ รายการเฉพาะไม่เหมาะสำหรับเด็ก และเยาวชน (ฉ) ขอให้ออกอากาศหลังจากวันที่ 21 ม.ค. 2560

3. การนำเสนอรายการที่เกี่ยวกั บการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ การแสดงความอาลัย การเทิดพระเกียรติ ให้ผู้รับใบอนุญาตกำหนดเพิ่มเติมไว้ในผังรายการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา จนถึงวันที่ 21 ม.ค. 2560 ทั้งนี้ ควรกำหนดอยู่ในช่วงเวลาที่ เหมาะสมที่จะทำให้ประชาชนส่วนมากได้รับชม

4. การนำเสนอรายการที่เกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพชีวิต การพัฒนาประเทศ การสนับสนุนประชาชนให้เข้าสู่ โลกแห่งเทคโนโลยี ให้ผู้รับใบอนุญาตพิจารณากำหนดเพิ่มเติมอย่ างเหมาะสม

5. การแต่งกายของพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ ผู้ประกาศ ให้อยู่ในโทนสีดำ ขาว (เน้นสีดำ) สุภาพ ทั้งนี้ กรณีผู้ร่วมรายการขอให้พิจารณาตามความเหมาะสม

6. การแสดง ตราสัญลักษณ์ของสถานี (LOGO) ควรปรับโทนสีเป็นโทนขาว ดำ และให้อยู่ในตำแหน่งมุมล่างขวาของจอ จนถึงวันที่ 21 ม.ค. 2560

7. การโฆษณา ให้ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการที่สามารถออกอากาศได้ ในแต่ละห้วงเวลาตามข้อ 2.

8. การแจ้งเปลี่ยนแปลงผังรายการ ให้ยกเว้นไม่ต้องดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 ข้อ 14 และข้อ 15 จนถึงวันที่ 2 ธ.ค. 2559[10]

สืบเนื่องมาจากการใช้คำสั่งและกฎหมายการควบคุมเนื้อหารายการของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฉบับต่างๆ ทำให้ทรูวิชั่นส์จำเป็นต้องเซ็นเซอร์รายการที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเนื้อหาอื่นที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติอย่างร้ายแรง ซึ่งมีโทษทางปกครองคือ การปรับเงิน การพักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตอย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมกับโทษทางอาญาตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่มีโทษจำคุก 3-15 ปี หากตรวจพบทรูวิชั่นส์ปล่อยให้ช่องรายการใดๆ ออกอากาศรายการเนื้อหาดังกล่าวจนจบ โดยเฉพาะรายการประเภทข่าว ซึ่งรับสัญญาณมาจากสถานีโทรทัศน์ต่างประเทศ โดยการดีเลย์สัญญาณออกอากาศช่องข่าวจากสถานีต้นทางเป็นเวลาประมาณ 5 นาที (ยกเว้น CNBC ที่ดีเลย์สัญญาณเพียง 2 นาทีครึ่ง) แล้วทำการตัดสัญญาณออกอากาศขึ้นหน้าจอสีขาวพร้อมข้อความประโยคภาษาอังกฤษว่า "Program will resume shortly." (ภาษาไทยแปลว่า "รายการที่กำลังออกอากาศอยู่จะกลับมาในอีกสักครู่") เมื่อพบเนื้อหาข่าวที่กำลังออกอากาศมีลักษณะสุ่มเสี่ยงข้างต้น และจะตัดกลับเข้าสัญญาณออกอากาศอีกครั้งเมื่อจบการนำเสนอแล้ว ก่อนหน้านี้ทรูวิชั่นส์เคยเซ็นเซอร์เนื้อหาข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับประเทศไทย และข่าวที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ (โดยเฉพาะช่อง CNN เมื่อช่วงกลางเดือนมกราคม 2550) ในช่วงของการทำรัฐประหาร 2549 ภายใต้คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5/2549 ในขณะนั้น (ในสมัยยูบีซี-ทรู) จนกระทั่งยกเลิกการเซ็นเซอร์เนื้อหาข่าวที่เกี่ยวกับในประเทศไทย (ปล่อยสัญญาณออกอากาศตามปกติ) ไปจนถึงปี 2559

การออกอากาศทีวีดิจิตอล และปัญหาการขัดข้องของ ดาวเทียมไทยคม

แก้

ทรูวิชั่นส์ได้เริ่มออกอากาศทีวีดิจิตอลเมื่อตั้งแต่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 ซึ่งได้เริ่มออกอากาศโดยจะทำการทดลองออกอากาศระบบดิจิตอลในทรูวิชั่นส์ จนถึง 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยในช่วงแรกจะออกอากาศในหมายเลข 11 - 46 แต่ในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้มีการปรับให้ช่องดิจิตอลไปอยู่หมายเลข 1 - 36 ทุกกล่องทุกบริการ โดยจะมีดังต่อไปนี้

ช่องหมายเลข 1 - 12 เป็นช่องรายการของภาครัฐ ช่องหมายเลข 13 - 15 เป็นช่องรายการประเภทเด็ก,ครอบครัว ในระบบ SD ช่องหมายเลข 16 - 22 เป็นช่องรายการประเภทข่าวสาร ในระบบ SD ช่องหมายเลข 23 - 29 เป็นช่องรายการประเภทสาระบันเทิง ในระบบ SD ช่องหมายเลข 30 - 36 เป็นช่องรายการประเภทบันเทิง ในระบบ HD

โดยความถี่ที่ออกอากาศช่องดิจิตอลของทรูวิชั่นส์จะเรียงตามนี้ ช่องหมายเลข 1 - 24 ออกอากาศในความถี่ 12438 H 30000 ช่องหมายเลข 25-46 ออกอากาศในความถี่ 12355 H 30000 โดยจะเชื่อมโยงกับดาวเทียมไทยคม 5 เพื่อคุณภาพในการรับชม และภายหลังได้มีการเพิ่มความคมชัดของช่องทีวีดิจิตอลในระบบ HD ในเลข 1 - 3 และ 30 -36 เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม [11]

ในช่วงแรกของการออกอากาศในตัว EPG จะไม่แสดงผังรายการใด ๆ ของทีวีดิจิตอล โดยในวันที่ 2 มิถุนายน 2560 เวลา 00:01 น. ได้มีการนำผัง EPG ของช่องทีวีดิจิตอลมาลงในช่องต่าง ๆ ของทีวีดิจิตอลในกล่องทรูวิชั่นส์ทุกกล่อง โดยจะแสดงผังรายการช่องทีวีดิจิตอลล่วงหน้า 2-3 วัน(ยกเว้น TNN24,True4u,ช่อง 3HD,ช่อง 7HD ที่แสดงผังล่วงหน้า 7-8 วัน)

ทรูวิชั่นส์ได้เริ่มส่งสัญญาณดาวเทียมไทยคม 8 ในนามบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับระบบออกอากาศในอนาคต

ภายหลังเลิกส่งสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5 โดยจะทำการยุติการออกอากาศ ตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 [12] ต่อมาเป็นไทยคม 8 ในนามบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)

โดยความถี่ที่ออกอากาศช่องดิจิตอลของทรูวิชั่นส์จะเรียงตามนี้ ช่องหมายเลข 1 - 30 ออกอากาศในความถี่ 11010 H 30000 MPEG-2 ช่องหมายเลข 33-36-38-43 ออกอากาศในความถี่ 11050 H 30000 MPEG-2 ช่องหมายเลข 1-2-32-34 ออกอากาศในความถี่ 11600 H 30000 MPEG-4 ช่องหมายเลข 3-31-33-35-36 ออกอากาศในความถี่ 11680 H 30000 MPEG-4 ส่วนช่องหมายเลข 30 ออกอากาศในความถี่ 11170 H 30000 MPEG-4 โดยจะเชื่อมโยงกับดาวเทียมไทยคม 8 เพื่อคุณภาพในการรับชม จะต้องเปลี่ยนหัวรับสัญญาณ LNB Universal ในระบบเคยู-แบนด์

โดยความถี่ที่ออกอากาศช่องดิจิตอลของทรูวิชั่นส์จะเรียงตามนี้ ช่องหมายเลข 1-2-3-4-10-16-18-22-23-24-25-27-29 ออกอากาศในความถี่ 11560 H 30000 MPEG-2 ช่องหมายเลข 1-2-32-34 ออกอากาศในความถี่ 11010 H 30000 MPEG-4 ช่องหมายเลข 31-33-35-36 ออกอากาศในความถี่ 11680 H 30000 MPEG-4 ส่วนช่องหมายเลข 30 ออกอากาศในความถี่ 11170 H 30000 MPEG-4

โดยความถี่ที่ออกอากาศช่องดิจิตอลของทรูวิชั่นส์จะเรียงตามนี้ ช่องหมายเลข 2-3-4-7-10-16-18-22-23-25-27-29 ออกอากาศในความถี่ 11560 H 30000 MPEG-2 ช่องหมายเลข 2-5-32-34 ออกอากาศในความถี่ 11010 H 30000 MPEG-4 ช่องหมายเลข 31-33-35-36 ออกอากาศในความถี่ 11680 H 30000 MPEG-4 ส่วนช่องหมายเลข 30 ออกอากาศในความถี่ 11170 H 30000 MPEG-4 ช่องหมายเลข 24 ออกอากาศในความถี่ 11520 H 30000 MPEG-4

หมายเลข ช่องย่อ ความถี่
ช่องดิจิตอลทีวี
2 NBT 11010 H 30000
3 Thai PBS 11560 H 30000
4 ALTV
5 TV5 HD 11010 H 30000
7 T Sports 7 11560 H 30000
10 TPTV
16 TNN 16
18 JKN 18
22 Nation TV
23 Workpoint TV
24 True4U 11520 H 30000
25 GMM 25 11560 H 30000
27 CH8
29 Mono 29
30 MCOT HD 11170 H 30000
31 ONE 11680 H 30000
32 THAIRATH TV 11010 H 30000
33 3HD 11680 H 30000
34 AMARIN TV 11010 H 30000
35 7HD 11680 H 30000
36 PPTV
ช่องยอดนิยม
37 True Plookpanya 11050 H 30000
39 True Explore Wild 11010 H 30000
40 True Select 11050 H 30000
42 Rama Channel
43 TNN24 11130 H 30000
44 True Shopping 11050 H 30000
45 TVK 11480 H 30000
46 True Movie Hits 10970 H 30000
47 VTV3 11480 H 30000
48 Hunan TV
49 CNC
50 True Shopping 11050 H 30000
51 True Select
52 Shop Channel Thailand 12344 H 45000
53 France 24 English 11480 H 30000
54 CNA
55 TV3 Malaysia
56 Thrill 12521 V 30000
57 HITS Movies
58 Kix HD
59 English Club
60 Zee Tamil
61 Zee Anmol 12604 V 30000
62 Colors Rishtey
63 Hits
64 MUTV
65 Colors Hindi
66 MTV India
67 Global Trekker
68 Cartoonito
69 Animax
70 Travel Channel
71 Trace Urban
72 W Sport
73 Zee Cinema
74 Zing
75 O Shopping 12344 V 45000
76 TVD 7
77 TVD 1
78 TVD 3
79 Banterng Thai
80 TOPLINE
82 MIRROR CH
83 BJ Channel
84 Kaset News
86 Variety Hit
87 Boonma TV
88 TVD 9
90 Star TV Mongoila
91 Media TV
92 TVB Thai
93 MV Mall Healthy
94 MVTV
95 MV Mall Best
96 MV LAO
97 MV Mall Home
99 MV Mall DD
100 MVM
101 MV Mall Family
102 MV Mall Trend
103 Thaibaan
104 MV Mall Plus
105 MV Mall Happy
106 Boomerang Thailand
107 Cool Channel (ช่องหนังไทยเก่า) 12687 V 30000
108 VOA RFA News
109 Simon TV
111 True Plookpanya 11050 H 30000
113 Kaset HD 12687 V 30000
114 True Select 11050 H 30000
115 True Film 1 11130 H 30000
116 True Film Asia 11050 H 30000
117 TNN16 11130 H 30000
118 True X-Zyte 11170 H 30000
119 Reality Channel 11130 H 30000
120 True Asian More 11520 H 30000
121 News 1 12687 H 30000

กล่องของท่านจะสามารถรับสัญญาณเลขช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ครบทุกช่อง

ปัญหาการขัดข้อง

แก้

ประมาณ 23:25 น.ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งสายเคเบิลใยแก้ว ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างสถานีดาวเทียมไทยคม กับสถานีโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกทรูวิชันส์ (Fiber link) เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคบางส่วน จนส่งผลให้บางช่องรายการของทรูวิชันส์ ไม่สามารถส่งสัญญาณออกอากาศได้ในขณะนั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

ระบบ ความแตกต่าง
เคเบิลใยแก้ว HD
ฟรีทีวีและทีวีดิจิทัล
ช่องรายการต่างๆ
จานดาวเทียม HD และ SD
ฟรีทีวีและทีวีดิจิทัล
ช่องรายการต่างๆ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-27. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
  2. 2.0 2.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2006-12-21.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2016-08-04.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-22. สืบค้นเมื่อ 2016-08-04.
  5. ประกาศจากทรูวิชันส์เรื่องการอนุญาตให้มีการโฆษณา, ยูทูบ
  6. ทรูวิชันส์พร้อมออกอากาศ HD ในไทย
  7. 7.0 7.1 W, byNatt (2022-01-07). "3 หน่วยงานจับมือปราบปรามละเมิดสิทธิ์บนสื่อออนไลน์". springnews.
  8. "ทรูวิชั่นส์แจงระงับ 14 ช่องข่าวต่างประเทศ". posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-07.
  9. กสท.สั่งผู้ประกอบการทีวี ควบคุมเนื้อหารายการสร้างความแตกแยกในสังคม คาด 19 พ.ย.ผังรายการปกติคืนจอ เก็บถาวร 2016-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์, 28 ตุลาคม 2559.
  10. กสทช.แจ้งช่องทีวีรายการเรท"ท"และ"น13"ที่เนื้อหาไม่รุนแรง เริ่มออกอากาศได้หลัง 19 พ.ย. , ประชาชาติธุรกิจ 3 พฤศจิกายน 2559.
  11. True vision, เรื่องสัญญานภาพของช่อง Digital TV
  12. "ผลกระทบ และวิธีแก้ไข กรณีไทยคม 5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2020-02-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้